คำอธิบายรายวิชา
๑.หมวดศึกษาทั่วไป
๑.๑ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์/สถานการณ์ เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา |
หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสุขภาพ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา |
มนุษยภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา |
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา/ที่มาของเศรษฐศาสตร์สุขภาพ ความรู้เบื้องต้นที่สำคัญทางเศรษฐศาสตร์ เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ อธิบายระบบบริการสุขภาพ การผลิตบริการสุขภาพ ประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม/ความเสมอภาคในการกระจายบริการทางสุขภาพ |
แนวคิด ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจ สมองและพฤติกรรม การทำงานของระบบประสาท พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ พัฒนาการทางกาย จิตสังคมและการส่งเสริมพัฒนาการของมนุษย์ทุกช่วงวัย |
แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ ความต่อเนื่องของภาวะสุขภาพ ปัจจัยกำหนดภาวะสุขภาพ แนวคิดและทฤษฏีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ นโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพของโลกและของประเทศ กลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ประเด็นและแนวโน้มของการสร้างเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มต่างๆของประเทศ บทบาทและสมรรถนะของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค |
๑.๒ กลุ่มวิชาภาษา
ศิลปะการใช้ภาษาไทย ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการคิด เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม |
โครงสร้าง ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกลยุทธ์ในการอ่านบทความ การเขียนในระดับประโยค การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การออกเสียง และการพูดสื่อสารในชั้นเรียนระดับบทสนทนา |
คำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย การทำบทบาทสมมุติในสถานการณ์ต่าง ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และเนื้อหาการอ่านและการฟังเรื่องต่างๆ |
กลยุทธ์ที่สำคัญในทักษะการใช้ภาษาทั้งสี่ การอ่านและการฟังจากแหล่งต่างๆ การพูดในชีวิตประจำวัน และการเขียนระดับย่อหน้าและเรียงความสั้นๆ รวมทั้งทักษะย่อย คือ ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการอ่านเชิงวิชาการ และเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมโลก |
บูรณาการทักษะภาษาอังกฤษ โดยการฝึกอ่านข่าว บทความวิจัย ความคิดเห็น และเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อความเข้าใจและคิดอย่างวิเคราะห์ จากแหล่งต่างๆโดยเน้นประเด็นซึ่งช่วยให้นักศึกษารู้เกี่ยวกับสังคมโลก ฝึกการฟังข่าว การบรรยายและสุนทรพจน์จากสื่อมัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ต การสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งการฝึกพูดในที่ชุมชน การนำเสนอและการทำบทบาทสมมุติ ฝึกการเขียนเรียงความรูปแบบโดยใช้การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้รวมทั้งการฝึกทักษะย่อย เช่น ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ในบริบทที่เหมาะสม |
การเขียนประกาศ โฆษณา ข่าว รายงาน จดหมาย ย่อความและบทความสั้นๆ จากสื่อการอ่านและการฟังประเภทต่างๆ |
๑.๓ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
แนวคิดความน่าจะเป็นและการแจกแจงความน่าจะเป็นและการประยุกต์กับเหตุการณ์ต่างๆ การแปลความค่าสถิติ สถิติพรรณนา การซักตัวอย่างเพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดีของประชากรและการนําไปใช้ในการประมาณค่าและการทดสอบ สมมุติฐาน |
๑.๔ กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ
แนวคิดและหลักการสุขภาพเชิงบูรณาการและองค์รวม คุณค่า ความหมาย และความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพ เชิงบูรณาการ และองค์รวมกับวิถีชีวิตและสังคมที่หลากหลาย การประยุกต์สหวิทยาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพทางกาย จิต สังคม และปัญญาเชิงบูรณาการและองค์รวมอย่างสร้างสรรค์ กระบวนการกลุ่ม และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียนพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการถอดบทเรียน การสำรวจและออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ร่วมกัน |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ในการขี่จักรยาน การเตรียมความพร้อมทางร่างกาย และจิตใจของ นักปั่นจักรยาน ประโยชน์ หลักการพื้นฐาน ทักษะการขี่จักรยาน ความปลอดภัย กฎ กติกา มารยาทในการขี่จักรยาน ระเบียบปฏิบัติในการใช้เส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการรอบมหาวิทยาลัย |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ การเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของการ ออกกำลังกายแบบกายและจิต ประโยชน์ หลักการพื้นฐานของการฝึกการออกกำลังกายแบบกายและจิตใจ ทักษะการออกกำลังกาย ความปลอดภัย กิจกรรมกายและจิตในรูปแบบต่างๆ เช่น โยคะ, มวยจีน, พีลาเต้, บอล |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายแบบโยคะเพื่อสุขภาพ ประวัติ ความหมาย สถานที่และอุปกรณ์ และประโยชน์ ของการฝึกโยคะ การเตรียมพร้อมของร่างกาย การยืดเหยียดข้อต่อและกล้ามเนื้อ เทคนิคการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ การฝึกท่าอาสนะต่างๆ การควบคุมลมหายใจ ปราณายามะ การผ่อนคลายอย่างลึกและความปลอดภัยในการฝึก |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ใน ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ประโยชน์ ความหมาย ความปลอดภัย ทักษะเบื้องต้นในการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น การล้ม การม้วนตัวด้านหน้า-หลัง การเตะ การต่อย การทุ่ม การควบคุมและการแก้ไขจากการถูกควบคุม |
๒. หมวดวิชาเฉพาะ
๒.๑ กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ
เคมีและชีวโมเลกุล ชีววิทยาระดับเซลล์ พลังงานของเซล์ พันธุศาสตร์ โรคทางพันธุกรรม เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอและการประยุกต์ทางการแพทย์ วิวัฒนาการ วิวัฒนาการมนุษย์ นิเวศวิทยาและปัญหาทางมลพิษและความหลากหลายทางชีวภาพ |
โครงสร้างโมเลกุลและการจําแนกสารอินทรีย์ ปฏิกิริยาของสารประกอบเคมีอินทรีย์ การเรียกชื่อ และ สเตอริโอเคมี การสังเคราะห์และปฏิกิริยาของแอลเคน ไซโคลแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติก- ไฮโดรคาร์บอน สารเฮไลด์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ อัลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์กรดคาร์-บอกซิลิก อะมีน |
วิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปของสิ่งมีชีวิต เน้นศึกษาโครงสร้างและการทําหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ การเรียนภาคปฏิบัติจะศึกษาจากโครงร่างของมนุษย์เป็นสําคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานสําหรับนักศึกษาจะได้นําไปใช้เป็นประโยชน์ในวิชาชีพต่อไป |
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ กลไก และการควบคุมการทำงานของเซลล์ อวัยวะ และระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ได้แก่ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งการทำงานประสานกันของระบบต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การทรงสภาพปกติภายในร่างกาย |
โครงสร้างและหน้าที่พื้นฐานของชีวโมเลกุลทั้ง ๔ ชนิด คาร์โบไฮเดรท ลิปิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิค กระบวนการพื้นฐานเมตาบอลิสึมของชีวโมเลกุลทั้ง ๔ ชนิด และกระบวนการพื้นฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและการควบคุมการแสดงออกของยีน ดีเอ็นเอเทคโนโลยี บทบาทพื้นฐานของชีวโมเลกุลเกี่ยวกับการทำงานในระบบต่างๆ ในร่างกายปกติการนำไปประยุกต์ใช้ |
เป็นวิชาที่กล่าวถึงรูปพรรณสัณฐาน โครงสร้าง ลักษณะการเจริญของจุลินทรีย์และปรสิตชนิดต่างๆ ภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอยู่เองตามธรรมชาติและชนิดจำเพาะ การถ่ายทอดยีนและความสำคัญของการถ่ายทอดยีนดื้อ ยาในจุลินทรีย์บทบาทของจุลินทรีย์ในธรรมชาติและการทำให้เกิดโรค การทำให้ปลอดเชื้อ และการทำลายเชื้อ จุลินทรีย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปรสิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการก่อโรค วงชีพของปรสิตที่มีความสำคัญทางการแพทย์ พยาธิสภาพที่เกิดจากปรสิตระบาดวิทยา การป้องกัน และพื้นฐานเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการตรวจสอบและวินิจฉัยเชื้อ จุลินทรีย์และปรสิต |
หลักการทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ ยาออกฤทธิ์ในระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบหัวใจ หลอดเลือดและไต ยาออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อและระบบสืบพันธุ์ ยาต้านจุลชีพ ยาต้านมะเร็ง ยารักษาโรคผิวหนัง ยากลุ่มวิตามิน การใช้ยาอย่างสมเหตุผล |
การทำงานผิดปกติของระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ซึ่งก่อให้เกิดโรคของระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบร่วมกัน ความผิดปกติอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะดุลยภาพของร่างกาย การเกิดเนื้องอกของระบบต่างๆ |
๒.๒ กลุ่มวิชาชีพ
วิวัฒนาการของศาสตร์ทางการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล บทบาทพยาบาลในระบบสุขภาพ ปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพล ประเด็นและแนวโน้มปัญหาสุขภาพของพลเมืองโลก |
แนวคิดระบบสารสนเทศทางการพยาบาล เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับพยาบาล การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาล ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศด้านการบริหาร การปฏิบัติ การศึกษา และการวิจัยทางการพยาบาล ประเด็นจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ การออกแบบสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล การสืบค้นข้อมูลทางการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างสื่อการเรียนการสอน นำเสนอข้อมูล และประมวลผลข้อมูล |
แนวคิด กระบวนการพยาบาล หลักการ วิธีการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคลทุกวัยในภาวะปกติและผิดปกติทั้งด้านร่างกายและจิตสังคม การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพของบุคคลทุกวัย |
ความสำคัญของการวิจัยทางการพยาบาล หลักฐานเชิงประจักษ์และนวัตกรรมทางการพยาบาล กระบวนการวิจัย รูปแบบการวิจัย เครื่องมือการวิจัย สถิติในการวิจัย จริยธรรมการวิจัย กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล การพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติการพยาบาล |
หลักและวิธีการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลขั้นพื้นฐาน การป้องกันการติดเชื้อ การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยของผู้ป่วย พยาบาล และสิ่งแวดล้อม การบำบัดรักษาทางการพยาบาล การใช้กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงสิทธิของบุคคลและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
หลักการพยาบาลเด็กและครอบครัวแบบองค์รวม ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การพยาบาลผู้ป่วยเด็ก โรคระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบโลหิตวิทยาและมะเร็ง และโรคติดเชื้อ |
การเปลี่ยนแปลงตามวัย การประเมินผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม ชะลอและบรรเทาอาการที่เกิดจากความเสื่อม หลักการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทางอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ การจัดการปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สุขภาพทางเพศ ความปลอดภัยของผู้ป่วย การบริหารยาอย่างปลอดภัย โภชนาการในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย การดูแลต่อเนื่อง การดูแลชั่วคราว การดูแลระยะยาว การดูแลแบบประคับประคอง โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ |
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบหายใจ หัวใจและหลอดเลือด เลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อ ผิวหนัง ระบบทางเดินปัสสาวะ และ มะเร็งวิทยา ที่ได้รับการรักษาทางยาและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง โดยให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแบบองค์รวมโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการสร้างเสริมสุขสภาพ การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน แก้ไขบรรเทาปัญหาที่คุกคามสุขภาพ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล |
การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพในระบบหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อและเต้านม ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ระบบประสาทสัมผัสพิเศษ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์สตรี ที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมและการตรวจรักษาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง โดยให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแบบองค์รวมและใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการส่งเสริมการฟื้นตัว การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การฟื้นฟูสภาพ แก้ไขบรรเทาปัญหาที่คุกคามสุขภาพ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ดูแล |
สถานการณ์และแนวโน้มทางการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ การเตรียมตัวก่อนสมรส การวางแผนครอบครัว การตั้งครรภ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพทารกในครรภ์ ภาวะมีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ-จิตสังคม การเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดา-ทารกและครอบครัว และหลักการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ตลอดจนทารกแรกเกิดปกติและครอบครัว โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ |
ภัยพิบัติ อุบัติภัยหมู่ และการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การใช้แผนรองรับภัยพิบัติ และภาวะฉุกเฉิน การวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์การช่วยเหลือ การช่วยเหลือเบื้องต้นในที่เกิดเหตุและห้องฉุกเฉิน การแก้ไขปัญหาที่คุกคามชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ การติดต่อประสานงาน การเคลื่อนย้าย การส่งต่อเพื่อการรักษา และการดูแลจิตสังคมของผู้ประสบภัย ญาติ และผู้ให้การช่วยเหลือ |
แนวคิดจริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาล สิทธิของผู้ป่วย ประเด็นปัญหาจริยธรรมและกฎหมายในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล |
สมรรถนะของผู้นำการพยาบาลทางคลินิก ทักษะของผู้นำทางการพยาบาลทางคลินิก การจัดการความรู้ แนวคิดและหลักการบริหารจัดการทางคลินิก การวางแผนงาน การจัดองค์การ การบริหารงานบุคคล การอำนวยการ การควบคุม และการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล |
การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานในการพยาบาลจิตเวช การบำบัดทางจิตเวช การพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลที่มีการเจ็บป่วยทางจิตในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง การดูแลอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัยและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
การดูแลชุมชน กระบวนการพยาบาลชุมชน กลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุข ระบาดวิทยา สาธารณะภัยในชุมชน การดูแลต่อเนื่อง การดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยในครอบครัวกลุ่มคน และชุมชน |
การพยาบาลมารดา-ทารกที่มีภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และการคลอดผิดปกติ การทำสูติศาสตร์หัตถการ การใช้ยาทางสูติศาสตร์ โดยใช้หลักการพยาบาลแบบองค์รวม ในการสร้างเสริม การป้องกัน การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ การสร้างเสริมสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว |
บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยแยกโรค การรักษาพยาบาลขั้นต้น การส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายวิชาชีพ |
ปฏิบัติทักษะการพยาบาลพื้นฐาน การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคล การป้องกันการติดเชื้อ ความปลอดภัยของผู้ป่วย พยาบาล และสิ่งแวดล้อม การบำบัดรักษาทางการพยาบาล คำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วย และจรรยาบรรณวิชาชีพ |
ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในทารก เด็กและวัยรุ่น ทั้งที่มีสุขภาพดี และมีความเจ็บป่วย ในโรคระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบโลหิตวิทยา มะเร็ง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท และโรคติดเชื้อ ที่ได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยนำกระบวนการพยาบาล และหลักฐานเชิงประจักษ์ มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล คำนึงถึงสิทธิ ความปลอดภัยของผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ |
การปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจากระบบหายใจ หัวใจ เลือด การไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อ ผิวหนัง ระบบทางเดินปัสสาวะ การเสียสมดุลของน้ำ เกลือแร่และกรด-ด่าง และมะเร็งวิทยาที่ได้รับการรักษาทางยาและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ระยะเฉียบพลัน วิกฤต และ เรื้อรัง ความปลอดภัยของผู้ป่วย การประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การรักษา การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน แก้ไขบรรเทาปัญหาที่คุกคามสุขภาพ การส่งเสริมโภชนาการในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย การดูแลแบบประคับประคอง คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
การปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบหัวใจ ทรวงอกและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ระบบสืบพันธุ์สตรี ตา หู คอ จมูก ต่อมไทรอยด์และเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง เสริมสร้างสุขภาพ ป้องกัน แก้ไขปัญหา และฟื้นฟูสภาพ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม สืบค้นข้อมูลเพื่อบูรณาการงานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาฐานข้อมูลของผู้ป่วย คำนึงถึงความปลอดภัย สิทธิและศักดิ์ศรีผู้ป่วย คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ |
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกแบบองค์รวมในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด นำกระบวนการพยาบาลมาใช้และผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแล การวางแผนการจำหน่าย การดูแลต่อเนื่องที่บ้านเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองและเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดา-ทารกและครอบครัวโดยคำนึงถึงสิทธิผู้รับบริการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ |
วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในคลินิกหรือชุมชน ระบุประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนา พัฒนาโครงการนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการบริการในคลินิกหรือชุมชน ประสานความร่วมมือกับทีมพยาบาลและทีมสุขภาพ สร้างนวัตกรรม นำไปใช้ ประเมินผล และเผยแพร่ |
ประเมินสุขภาพชุมชน วินิจฉัยปัญหาและความต้องการ วางแผน ดำเนินการ ประเมินผล การพยาบาลบุคคลในครอบครัว อนามัยโรงเรียน สุขภาพชุมชน การดูแลต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้แหล่งประโยชน์ การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชุมชน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปฐมพยาบาล คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย สิทธิ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
ประยุกต์ความรู้ในศาสตร์ของการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย แปลผลการตรวจร่างกาย แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คัดกรองผู้รับบริการ วินิจฉัยโรคให้การรักษาพยาบาลขั้นต้น บันทึกการตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การให้คำแนะนำ การส่งต่อผู้รับบริการ ความปลอดภัยของผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต การพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลที่มีการเจ็บป่วยทางจิต การใช้กระบวนการพยาบาล การบำบัดรักษาทางจิตเวช การวางแผนจำหน่ายโดยนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงสิทธิของผู้รับบริการ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ |
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่สตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ทารกแรกเกิด ในภาวะปกติ ภาวะแทรกซ้อน/ติดเชื้อ การเฝ้าคลอด การทำคลอดปกติ การช่วยเหลือการคลอดในรายปกติและรายผิดปกติ การวางแผนการจำหน่าย การเยี่ยมหลังคลอด สอนและให้คำแนะนำการดูแลตนเองรายบุคคล/รายกลุ่ม ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว โดยใช้กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรและผู้รับบริการ สิทธิของผู้รับบริการ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
การปฏิบัติบริหารจัดการในคลินิก ผู้นำทางคลินิก การจัดระบบการให้การพยาบาล การนำทีมการพยาบาล การวางแผน การมอบหมายงาน การประสานงาน การนิเทศโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาล การประเมินผลงาน การตัดสินใจทางการพยาบาล คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ |
ปฏิบัติการพยาบาลในสาขาทางคลินิกที่สนใจ ฝึกการวิเคราะห์สถานการณ์ทางคลินิก และวิเคราะห์โครงสร้างหน่วยงาน ฝึกทักษะการพยาบาลเฉพาะด้านในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ฝึกการทำงานเป็นทีมร่วมกับทีมสุขภาพ คำนึงถึงขอบเขต ข้อบังคับ คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
๓. หมวดวิชาเลือกเสรี
แนวคิด ความสำคัญ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักการพื้นฐานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสื่อสารและการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมารดาและทารกให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องถึงช่วงเด็กปฐมวัย วิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหา ให้การปรึกษาแก่มารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ |
กระบวนการและทักษะการพัฒนาตน เป้าหมายของชีวิต หลักธรรมที่พึงรู้ พึงละ พึงทำให้เจริญ พึงปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตให้งอกงามบรรลุประโยชน์สุข |
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสุขภาพ หลักสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคและความเท่าเทียม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม บทบาทของวัฒนธรรมและมรดกทางชาติพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยของบุคคล ครอบครัวและชุมชนในแต่ละสังคม ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในสังคมที่ต่างวัฒนธรรมกัน แนวคิดทางการพยาบาลบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม |
ความรู้เบื้องต้นเรื่องวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของศาสตร์นี้กับปัญหาความปลอดภัยของผู้ป่วยในระบบสุขภาพ บทบาทการทำงานของบุคคลและของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อแก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม และวางแผนโครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยสหสาขาวิชาชีพ |
หลักการ กระบวนการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง หลักการและกระบวนการให้การปรึกษา ทักษะพื้นฐานในการให้การปรึกษา การประยุกต์ทักษะพื้นฐานในการปรึกษาทางสุขภาพในสถานการณ์สมมติ |
ความหมาย ประเภท องค์ประกอบ และหน้าที่ของวัฒนธรรม รูปแบบการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานและการจัดระเบียบทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมท้องถิ่น |
ความหมายสุขภาพและความเจ็บป่วย โลกาภิวัตน์ การบริโภคสัญญะ ร่างกาย ตัวตน ความเจ็บป่วยเรื้อรัง การจัดการทางการแพทย์ กลยุทธทางสังคม เพศภาวะ เพศวิถี ความหลากหลายเพศ สารเสพติด การเรียนรู้ทางสังคม บทบาทวิชาชีพพยาบาล |
วิถีชีวิตในสังคมยุคใหม่ ผลกระทบของชีวิตยุคใหม่ต่อสุขภาพทางชีวิตทางกาย ทางสังคม และสุขภาพทางจิต ปัญหา (ทุกข์) จากการใช้ชีวิตของคนในยุคใหม่ (การบริโภค สิ่งแวดล้อม ความเครียด ความว้าเหว่ โดดเดียว การพึ่งพิงวัตถุภายนอก ความก้าวร้าว ความสับสน ฟุ้งซ่านของจิต การขาดเป้าหมายในชีวิต) มูลเหตุ(สมุทัย) ของวิกฤตชีวิตในสังคมยุคใหม่ หลักของการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่อย่างสงบและสุข (นิโรธ) ทักษะและเทคนิคการใช้ชีวิตที่มีดุลยภาพและเป็นสุขในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม (มรรค) เช่น การสมาธิ ภาวนา การเจริญสติ การออกกำลังกายอิงสติ (โยคะ ไทเก็ก) การสร้างสังคมกัลยาณมิตร ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีสมานฉันท์ และสามารถยอมทนต่อความแตกต่างได้ ความสามารถในการแสวงหาและเลือกบริโภคข้อมูล และการเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบและมีจิตสำนึกในสังคมสาธารณะ |
ความหมายและหลักการมนุษยสัมพันธ์ เทคนิคการพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาตนโดยอาศัยมนุษยสัมพันธ์เพื่อชีวิตและการงานที่ดี |
บทบาทของสตรีในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อิทธิพลของปัจจัย ทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมต่อบทบาทของสตรี ความแตกต่างระหว่างสตรีในสังคมเมืองและสังคมชนบทในประเทศไทย การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับสตรี |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อสุขภาพ ความสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ประโยชน์ หลักการพื้นฐานของการฝึกเต้น แอโรบิก ทักษะการเคลื่อนไหวในการเต้นแอโรบิก ความปลอดภัย และกิจกรรมแอโรบิกรูปแบบอื่นๆ เช่น แอโรบิกในน้ำ ศิลปะการต่อสู้ประกอบเพลง สเต็ปแอโรบิก นิวบอดี้ และบู๊ท แคมป์ี |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ในว่ายน้ำประโยชน์ ความปลอดภัย มารยาท การแต่งกาย ทักษะเบื้องต้นในการว่ายน้ำ เช่น การลงน้ำ การลอยตัว การหายใจในน้ำ การใช้แขน ขา รวมถึงทักษะการว่ายท่าฟรีสไตล์ ท่ากรรเชียง และท่ากบ |
หลักวิทยาศาสตร์การกีฬาและการประยุกต์ใช้ในลีลาศ ประโยชน์ กติกา มารยาท การแต่งกาย ความปลอดภัย และทักษะเบื้องต้นในการเต้นลีลาศ เช่น จังหวะวอลซ์ คิวบัน-รัมบ้า ช่า ช่า ช่า และ ไจว์ |
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th