ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร (Program Philosophy)
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง มีความเป็นผู้นำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการดูแลแก่สตรีในระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมทั้งการดูแลทารกแรกเกิด โดยครอบคลุมทั้งภาวะการตั้งครรภ์ปกติ มีความเสี่ยงสูง และมีปัญหาซับซ้อนอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล สามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ มีความสามารถในการทำวิจัยและการใช้ผลงานวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ โดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนเสริมสร้างความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและจัดการความเสี่ยง โดยอิงหลักวิชาการบนพื้นฐานของจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อวิชาชีพและต่อสังคม สมรรถนะที่สูงขึ้นจะช่วยให้มหาบัณฑิตสามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แก่ผู้อื่น และนำไปพัฒนาวิชาชีพและการบริการได้อย่างทั่วถึงและกว้างขวางขึ้น ยังประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมและประเทศชาติได้โดยลำดับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
๑. มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งทางวิชาการ และวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ๒. อธิบายหลักการ ทฤษฎี และความรู้ในการดูแลสตรีตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด และทารกแรกเกิด ได้อย่างเหมาะสม ๓. บูรณาการความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการปฏิบัติการผดุงครรภ์ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการผดุงครรภ์ได้ ๔. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีภาวะผู้นำ และริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพและสังคมได้ ๕. วิเคราะห์ แปลผล และจัดการข้อมูลทางตัวเลขและสถิติ เพื่อใช้ในการผดุงครรภ์สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
๑. แสดงบทบาทของผดุงครรภ์ในฐานะเจ้าของไข้ในการดูแลสตรีระยะตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดและทารกแรกเกิดที่มีภาวะปกติ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ ๒. จัดการการดูแลสตรีระยะก่อนตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดและทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีปัญหาซับซ้อน ๓. สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในการพัฒนาคุณภาพการผดุงครรภ์ ด้วยทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๔. แสดงภาวะผู้นำในการทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดการดูแลสตรีระยะก่อนตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดและทารกแรกเกิดได้
โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)
หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก ๒ (Plan A2: Coursework + Thesis)
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๒ ปี
หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต | ||
NSOG 617 | Women’s Health | 2 Credits |
NSID 600 | Health Counseling | 2 Credits |
NSID 643 | Digital Technology in Nursing | 1 Credit |
NSID 644 | Clinical Teaching in Nursing | 2 Credits |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (หลักสูตรภาคปกติ)
แผนการศึกษา |
ระยะเวลาศึกษา |
อัตราค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายฯ |
อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ |
|
ค่าวิจัยและ/ |
ค่าธรรมเนียม |
|||
แผน ก แบบ ก 2 |
2 ปี |
30,000 |
150,000 |
- |
หมายเหตุ:
[1] สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ ชำระตลอดหลักสูตร (ค่าวิจัย และ/หรือ ค่าอุปกรณ์พิเศษ และ ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงาน) หลักสูตรอาจพิจารณาลดหย่อน หรือ ยกเว้นการจัดเก็บให้แก่นักศึกษาเป็นรายกรณีไป
[2] กรณีหลักสูตรที่กำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนหรือขอสอบวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระในภาคฤดูร้อน นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายภาคฤดูร้อน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายของแต่ละหลักสูตร
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์
(หลักสูตรปกติและภาคพิเศษ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธารา น่วมภา | ประธานคณะกรรมการ |
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง | กรรมการ |
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา ธนาโนวรรณ | กรรมการและเลขานุการ |
อาจารย์ ดร.มนัสวีร์ ศรีมรกต | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ข้อมูลเพิ่มเติม
Last Update: 11/10/2567
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th