ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร (Program Philosophy)
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คือ ผู้มีคุณธรรม เป็นผู้นำ เสริมสร้างความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะใหม่ได้ด้วยตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง บูรณาการศาสตร์ต่างๆ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรม
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จัดการศึกษาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยใช้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างเสริมความรู้ ความสามารถและทักษะใหม่ได้ด้วยตนเอง ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน และให้การดูแลสุขภาพผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพ สอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ และความต้องการของสังคม เป็นผลให้เกิดองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพ ที่นำไปสู่การพัฒนาองค์กร สถาบัน ให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
๑. มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งทางวิชาการและวิชาชีพในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๒. อธิบายหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางการพยาบาล แนวโน้มปัญหาสุขภาพของประชากร และความรู้ในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ๓. วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ แก้ปัญหาทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เสนอแนวคิด สร้างสรรค์นวัตกรรม ข้อความรู้ใหม่ งานวิชาการและวิจัยทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้ โดยใช้กระบวนการวิจัยทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง ๔. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพและเครือข่ายสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๕. วิเคราะห์ แปลผล และจัดการข้อมูลทางตัวเลขและสถิติ เพื่อใช้ในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไป และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
๑. บูรณาการความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อจัดการปัญหาสุขภาพและส่งเสริมผลลัพธ์ทางสุขภาพ ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพ ๒. สร้างผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและปัญหาสุขภาพซับซ้อนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ด้วยทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๓. แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการหรือผลงานวิจัยกับบุคลากรทางด้านสุขภาพ โดยการนำเสนอด้วยวาจาหรือเผยแพร่ผ่านการประชุมวิชาการหรือวารสารทางวิชาการ ด้วยทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ๔. พัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลของผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๕. แสดงภาวะผู้นำในการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ
โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)
หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก ๒ (Plan A2: Coursework + Thesis)
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๒ ปี
หลักสูตรภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก ๑ (Plan A2: Coursework + Thesis)
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๓ ปี
หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต | ||
NSID 600 | Health Counseling | 2 Credits |
NSID 637 | Interdisciplinary Approach for Ageing and Long-term Care | 2 Credits |
NSID 643 | Digital Technology in Nursing | 1 Credit |
NSID 644 | Clinical Teaching in Nursing | 2 Credits |
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพร ดนัยดุษฎีกุล | ประธานกรรมการ |
รองศาสตราจารย์ ดร.วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ | กรรมการ |
รองศาสตราจารย์ ดร.อุษาวดี อัศดรวิเศษ | กรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศศิริ วงษ์คงคำ | กรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล | กรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี พลิกบัว | กรรมการ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ | กรรมการและเลขานุการ |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (ภาคปกติ) | ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (ภาคพิเศษ) |
หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก๑
(ระยะเวลาการศึกษา ๒ ปีการศึกษา) |
หลักสูตรภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก๒
(ระยะเวลาการศึกษา ๓ ปีการศึกษา) |
|
|
หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก๒ (ระยะเวลาการศึกษา ๒ ปีการศึกษา) |
|
|
ข้อมูลเพิ่มเติม
Last Update: 11/03/2565
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th