วันที่ 11 มกราคม 2565 วันที่สองของการประชุมวิชาการนานาชาติ "Challenges in NCDs management to achieve the SDGs in the COVID -19 era and beyond" ผ่านระบบออนไลน์ ภายใต้ธีมที่ว่า “Digital Health: A Strategy to Maintain Health Care for NCDs during COVID-19” วิทยากรคนแรก Prof. Cheryl Dennison Himmelfarb, Ph.D., RN., ANP.,FAAN. จาก Johns Hopkins School of Nursing ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ “Cardiovascular and vulnerable populations in COVID-19 Backdrop” ที่เน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษา หลังจากที่วิทยากรได้เคยใช้กลยุทธ์และมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความดันโลหิต ที่มีความแตกต่างไม่เท่าเทียมกันในการรักษา เราจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างไร และวิทยากรคนที่สอง ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พูดถึงแนวคิดโครงการโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G ในหัวข้อ “Smart hospital in smart city for urban population” ถือเป็นความท้าทายของคนในสังคมเมืองในการจัดการการเปลี่ยนแปลง ซึ่งโรงพยาบาลจะปรับตัวอย่างไร จะนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดอย่างไร และปิดท้ายด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ “NCDs Center (system innovation)” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพงษ์ ตันคำปวน ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ The MU-JHU NCDs Research Collaborative Center และกิจกรรมในปัจจุบัน เช่น การอบรมระยะสั้น การสัมมนาออนไลน์ รวมถึง แผนการดำเนินในอนาคต ได้แก่ ความร่วมมือด้านการวิจัย (Multi-site Research) และโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการและการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
การประชุมทั้งสองวันนี้ถือเป็นความร่วมมือที่เป็นพันธมิตรอย่างแข็งแกร่ง (SDG 17) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการจัดการและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ซึ่งจะกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการก้าวไปสู่เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งไว้ และจะสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นนโยบายการขับเคลื่อนที่สำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะวิชาชีพพยาบาล
website: https://ns.mahidol.ac.th/ncd2022 |