ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฟื้นฟูสภาพ |
ภาษาอังกฤษ: | Program of Nursing Specialty in Rehabilitation Nursing |
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม: | ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลฟื้นฟูสภาพ |
Certificate of Nursing Specialty in Rehabilitation Nursing | |
ชื่อย่อ: | ป.การพยาบาลเฉพาะทางการพยาบาลฟื้นฟูสภาพ |
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลฟื้นฟูสภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ ให้มีสมรรถนะของการพยาบาลทางคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการพยาบาลฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวม และสามารถใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้คนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมได้ตามศักยภาพ
โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยกิต | |||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 16 | หน่วยกิต | |
ภาคทฤษฎี | 11 | หน่วยกิต (1 หน่วยกิต = 15 ชม.) | |
ภาคปฏิบัติ | 5 | หน่วยกิต (1 หน่วยกิต = 60 ชม.) |
รายละเอียดรายวิชา
พยคร 530 NSID 530 |
นโยบายสุขภาพและประเด็นร่วมสมัยในการพยาบาล Health Policy and Contemporary Issues in Nursing |
2(2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
นโยบายสุขภาพ ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ การวินิจฉัยโรคร่วมและค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ กฎหมาย สิทธิ สวัสดิการ และการพิทักษ์สิทธิ แนวคิดการพยาบาลร่วมสมัยเพื่อการฟื้นฟูสภาพ ผลผลิตและการจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล การพัฒนาและการใช้ฐานข้อมูลขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและผู้ป่วยที่มีความพร่องทางการเคลื่อนไหว การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
พยคร 531 NSID 531 |
การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการจัดการความเสี่ยง Advanced Health Assessment and Risk Management |
2(1-1-3) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิด หลักการ และวิธีการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการประเมินความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ในคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ทั้งกาย จิต สังคม แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจเฉพาะทาง การวินิจฉัยและจัดการความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน การตัดสินทางคลินิกและการบันทึกทางการพยาบาล
พยคร 532 NSID 532 |
การพยาบาลฟื้นฟูสภาพ Rehabilitation Nursing |
3(3-0-6) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
สถานการณ์ความเจ็บป่วย ภาวะเสี่ยงต่อความพิการ และความพิการซ้ำซ้อน พยาธิสรีรวิทยา การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว การพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพที่มีโรคร่วมและไม่มีโรคร่วม เครื่องมือและคู่มือมาตรฐานในการประเมินและรักษาพยาบาล การป้องกันความพิการซ้ำซ้อน การพัฒนาครอบครัว ชุมชน เครือข่ายเพื่อดูแล การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ การพัฒนาฐานข้อมูลขนาดเล็กด้านการฟื้นฟูสภาพ
พยคร 533 NSID 533 |
การจัดการต่อเนื่องด้านการฟื้นฟูสภาพ Continuing Management in Rehabilitation |
2(2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดและผลลัพธ์การจัดการต่อเนื่องสำหรับคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
การฟื้นฟูสภาพโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน การให้คำปรึกษา การเป็นผู้จัดการรายกรณีด้านการฟื้นฟูสภาพ การจัดทรัพยากรในระบบบริการสุขภาพ การเลือกใช้เทคโนโลยีและการแพทย์ทางเลือก การพัฒนาศักยภาพของครอบครัวและชุมชน การพัฒนานวตกรรมการดูแลต่อเนื่อง เครือข่ายการจัดการฟื้นฟูสภาพที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
พยคร 549 NSID 549 |
การส่งเสริมสุขภาพและการเตรียมความพร้อมเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ Health Promotion and Preparation for Independent Living |
2(2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดด้านการส่งเสริมสุขภาพและการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว บทบาทรัฐ บทบาทพยาบาลและทีมสุขภาพ ในการจัดให้มีการดำเนินชีวิตอิสระ การพิทักษ์สิทธิ์และศักดิ์ศรี การสร้างพลังชีวิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการการดำรงชีวิตอิสระในสังคม การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในสังคม การวางแผนชีวิตและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวแต่ละคน
พยคร 586 NSID 586 |
ปฏิบัติการพยาบาลฟื้นฟูสภาพ Rehabilitation Nursing Practicum |
3(0-12-3) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ สังคม หลังการเกิดภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันและเมื่อมีความพิการ การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการประเมินความต้องการการฟื้นฟูสภาพ การตัดสินปัญหา การวางแผนการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การส่งต่อเพื่อการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง การประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ ครอบครัวและชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พยคร 587 NSID 587 |
ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการดำรงชีวิตอิสระ Nursing Care for Independent Living Practicum |
(0-8-2) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ การพิทักษ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีผู้ป่วยและคนพิการ การสร้างพลังชีวิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตอิสระในสังคม สื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในสังคม วางแผนชีวิตและกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของคนพิการและผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวแต่ละคน
ระยะเวลาการศึกษาอบรม
กำหนดระยะเวลาการศึกษาอบรม 4 เดือน (16 สัปดาห์)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
คุณสมบัติเฉพาะ
* หมายเหตุ กรณีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th