ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) |
ภาษาอังกฤษ: | Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care) |
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม: | ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) |
Certificate in Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care) | |
ชื่อย่อ: | ป.เวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) |
Cert. in Nurse Practitioner |
หลักการและเหตุผล
นโยบายสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็งนับเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนทุกคนสามารถได้รับบริการพื้นฐาน ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมตามกรอบการให้บริการพื้นฐาน ได้แก่ การส่งเสริมศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้สามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้ สามารถตัดสินใจแสวงหาความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ
การตอบสนองนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีเป้าหมายชัดเจนในการจัดระบบบริการสุขภาพให้กับ ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลวิชาชีพ ให้มีศักยภาพในการประเมินภาวะสุขภาพ การคัดกรองโรค การรักษาโรคเบื้องต้น การช่วยเหลือในระยะฉุกเฉิน การส่งต่อเพื่อรับการรักษาตลอดจนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยมุ่งเน้นบริการที่ผสมผสานความรู้เชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่น การดูแลโดยให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงประเด็นจริยธรรม สังคม และวัฒนธรรมของผู้รับบริการ
สภาการพยาบาลได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยกำหนดให้การประกอบ วิชาชีพการพยาบาลครอบคลุมการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค และกำหนดให้การรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค เป็นสาขาหนึ่งของการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษา โรคเบื้องต้น) โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ ประกอบมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๐ และระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรค เบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. ๒๕๔๕ ดังปรากฏในหน้า ๑๐-๑๒ เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง ราชกิจจา- นุเบกษา ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ โดยในระเบียบกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวตาม ข้อ ๖ หน้า ๑๑ ระบุไว้ว่าผู้มี สิทธิกระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตามระเบียบนี้ ต้องได้รับการศึกษา/ฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สภาการ- การพยาบาลกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ตามข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โดยจัดการศึกษาฝึกอบรมเฉพาะทาง สาขา เวชปฏิบัติทั่วไป ด้านการรักษาโรคเบื้องต้น ให้กับพยาบาลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพให้กับประชาชนผู้รับบริการได้อย่างสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีโดยรวมของประชาชน สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศ
ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีพันธกิจหลักที่สำคัญใน การจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาในสาขาพยาบาลศาสตร์ ทั้งในระดับพยาบาลศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต และการพยาบาลเฉพาะทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ซึ่งภาควิชาการพยาบาลสาธาณรสุขศาสตร์ได้ดำเนินการเปิดอบรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา ซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญและจำเป็นเพื่อพัฒนาพยาบาลวิชาชีพอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้มีศักยภาพในการให้บริการในระดับปฐมภูมิตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ที่สามารถตอบสนองความต้องการการบริการของประชาชน อันจะทำให้เกิดคุณภาพของการให้บริการและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่เข้ามารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำหลักสูตรเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) ที่ทันสมัยและสอดรับกับปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรในการจัดอบรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิได้ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นโยบาย และระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) มีทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อการตัดสินใจทางคลินิก การตรวจวินิจแยกโรค ให้การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการต่างๆ ทั้งในระยะเฉียบพลันและกลุ่มโรคที่พบบ่อย ประเมินปัญหาที่ซับซ้อนจากการเปลี่ยน แปลงภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถวางแผนการบูรณาการการดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถตัดสินใจส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ปฏิบัติงานเป็นทีมกับบุคคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง และประสาน เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายบริการ รวมทั้งการใช้กลวิธีที่หลากหลายในการดูแลได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ตาม พรบ.วิชาชีพ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพ
วัตถุประสงค์เฉพาะ
ภายหลังสำเร็จการศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
๑) อธิบายแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นโยบายสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ และ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพชุมชนได้ ๒) ประเมินภาวะสุขภาพอย่างครอบคลุมและการตัดสินทางคลินิก เพื่อการตรวจวินิจแยกโรค ๓) ให้การรักษาโรคเบื้องต้นและตัดสินใจส่งต่อในกลุ่มอาการต่างๆ ทั้งในภาวะเร่งด่วน ภาวะเฉียบพลัน และโรคที่พบบ่อยได้อย่างเหมาะสม ๔) ประเมินปัญหาที่ซับซ้อนจากการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ ๕) วางแผน บูรณาการการจัดการดูแลเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ ๖) ปฏิบัติงานเป็นทีมกับบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องโดยประสานความร่วมมือ เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายบริการในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวอย่างต่อเนื่องได้ ๗) ใช้กลวิธีที่หลากหลายในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพได้ ๘) สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เคารพในสิทธิ์ของผู้รับบริการบนพื้นฐานตามขอบเขต ของกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | ๑๘ | หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้ | ||
ภาคทฤษฎี | ๑๒ | หน่วยกิต |
(๑ หน่วยกิต = ๑๕ ชั่วโมง) | ||
ภาคปฏิบัติ | ๖ | หน่วยกิต |
(๑ หน่วยกิต = ๖๐ ชั่วโมง) | ||
a (b-c-d) โดยที่ a หมายถึง จำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด |
รายวิชาในหลักสูตร
วิชาแกน | ||
จำนวน ๒ หน่วยกิต (๑ รายวิชา) | ||
พยคร ๖๒๗ | วิชานโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ | ๒ (๒-๐-๔) |
NSID 627 | Health Policy and Leadership |
วิชาบังคับของสาขา | ||
จำนวน ๒ หน่วยกิต (๑ รายวิชา) | ||
พยสธ ๕๐๑ | การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินใจทางคลินิก | ๒ (๑-๒-๓) |
NSPN 501 | Advance Health Assessment and Clinical decision making |
วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา | ||
จำนวน ๑๔ หน่วยกิต (๕ รายวิชา) | ||
พยสธ ๕๐๒ | การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ | ๒(๒-๐-๔) |
NSPN 502 | Rational Drug Use for Nurse Practitioner | |
พยสธ ๕๐๓ | การรักษาโรคเบื้องต้นและการจัดการภาวะเร่งด่วน | ๔(๔-๐-๘) |
NSPN 503 | Primary Medical Care and Critical Care Management | |
พยสธ ๕๐๔ | การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน | ๒(๒-๐-๔) |
NSPN 504 | Chronic Care Management in Community | |
พยสธ ๕๘๑ | ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการจัดการภาวะเร่งด่วน * | ๔(๐-๑๖-๔) |
NSPN 581 | Primary Medical Care and Critical Care Management Practicum | |
พยสธ ๕๘๒ | ปฏิบัติการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน * | ๒(๐-๘-๒) |
NSPN 582 | Care Management of Chronic Illness in Community Practicum | |
* ภาคปฏิบัติ ๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต (๑ หน่วยกิต = ๖๐ ชั่วโมง) |
รายละเอียดรายวิชา
พยคร ๖๒๗ NSID 627 |
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ Health Policy and Leadership |
๒ (๒-๐-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
นโยบายสุขภาพ ปัญหาและแผนพัฒนากำลังคนทางการพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนด และประเด็นจริยธรรมในระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพในระบบสุขภาพ ทฤษฎีและการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความสามารถ ดังนี้
๑) มีความเข้าใจระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพ และการพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของประเทศไทย ๒) วิเคราะห์แผนพัฒนาสุขภาพฉบับปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์สุขภาพ แผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพ ๓) วิเคราะห์กฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ๔) ประยุกต์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำ มาใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง ๕) นำเสนอแผนการพัฒนาคุณภาพองค์กรในระบบสุขภาพ
พยสธ ๕๐๒ NSPN 502 |
การใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ Rational Drug Use for Nurse Practitioner |
๒ (๒-๐-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
หลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หลักการทางเภสัชศาสตร์ ขอบเขตการใช้ยาของพยาบาลเวชปฏิบัติ การใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคเบื้องต้น การบริหารจัดการยาในระบบปฐมภูมิ การส่งมอบและการให้คำแนะนำการใช้ยาตามวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้รับบริการสุขภาพ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หลักการทางเภสัชศาสตร์ การใช้ยาในการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพทั่วไป ตามขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลเวชปฏิบัติ การใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรคเบื้องต้น การบริหารจัดการการใช้ยาสำหรับผู้รับบริการสุขภาพ
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะมีความสามารถ ดังนี้
๑) อธิบายแนวคิดและหลักการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้ ๒) อธิบายหลักการทางเภสัชศาสตร์ได้ ๓) ระบุของเขตของการพยาบาลเวชปฏิบัติในการใช้ยาเพื่อการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยได้ ๔) วิเคราะห์กลไกการออกฤทธิ์ของยา การตอบสนองของร่างกายต่อยา ปฏิกิริยาต่อกันของยา ผลข้างเคียงของยา และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการใช้ยาในการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยได้ ๕) ระบุการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยได้ ๖) วิเคราะห์บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติ ในการบริหารยา การให้ความรู้ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในการใช้ยาได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
พยสธ ๕๐๓ NSPN 503 |
การรักษาโรคเบื้องต้นและการจัดการภาวะเร่งด่วน Primary Medical Care and Critical Management |
๔(๔-๐-๘) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มโรคตามระบบของอวัยวะหรือตามกลุ่มอาการของโรคที่พบบ่อยในหน่วยบริการปฐมภูมิ พยาธิสรีรวิทยาของกลุ่มอาการและกลุ่มโรค อาการและอาการแสดง สาเหตุและวิทยาการระบาดของการเกิดโรค ในภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อยและเฉียบพลันในระบบต่างๆ การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษาเบื้องต้นโดยการใช้ยาและไม่ใช้ยา การใช้สมุนไพร การคัดกรองและการจัดลำดับปัญหาเร่งด่วน การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน การให้คำปรึกษาและการส่งต่อโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและจริยธรรมวิชาชีพ
พยสธ ๕๘๑ NSPN 581 |
ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการจัดการภาวะเร่งด่วน Primary Medical Care and Critical Care Management Practicum |
๔ (๐-๑๖-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพ อาการและอาการแสดงที่ผิดปกติในภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อยและเฉียบพลันในระบบต่างๆ วินิจฉัยแยกโรค รักษาโรคเบื้องต้นโดยการเลือกใช้ยาและสมุนไพร คัดกรองโรคและจัดลำดับความต้องการการดูแลตามปัญหาสุขภาพ การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน รับและส่งต่อผู้ป่วย ให้ความรู้และคำปรึกษา บันทึกติดตามการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างปลอดภัยตามขอบเขตการปฏิบัติและจริยธรรมวิชาชีพ
พยสธ ๕๐๔ NSID 504 |
การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน Care Management of Chronic illness in community |
๒ (๒-๐-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดการจัดการโรคเรื้อรัง การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน การประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการป้องกันแก้ไข การตัดสินทางคลินิก การจัดการดูแล การจัดการภาวะฉุกเฉิน การวางแผนการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล การประเมินทรัพยากรที่จำเป็นในชุมชน การจัดการข้อมูล การประเมินผลลัพธ์การดูแล การประสานทีมงาน การมีส่วนร่วมของชุมชน การสนับสนุนการจัดการตนเอง เพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและครอบครัวได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
พยคร ๕๘๒ NSID 582 |
ปฏิบัติการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน Care Management of Chronic Illness in Community Practicum |
๒ (๐-๘-๒) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัย และการบำบัดปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรัง การส่งปรึกษาและรักษาต่อ การดูแลต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน การพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองและดูแลผู้ที่ต้องพึ่งพิง การเสริมสร้างการจัดการตนเอง การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวางแผนการจัดการเพื่อลดความรุนแรงและซับซ้อนของปัญหา การใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างคุ้มค่า การประเมินผลลัพธ์การจัดการดูแลและความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง การประสานงานกับทีมสุขภาพและความร่วมมือกับชุมชน
ระยะเวลาการศึกษาอบรม
ใช้ระยะเวลาการอบรม ๑๘ สัปดาห์
ภาคทฤษฏี ศึกษาที่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.
จำนวน ๕ รายวิชา ระยะเวลา ๗ สัปดาห์ ( ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom )ภาคปฏิบัติ ศึกษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี นครปฐม
ศูนย์บริการสาธารณสุข และชุมชนในกรุงเทพมหานคร
วันจันทร์- ศุกร์ เวลา ๘.๐๐-๑๖.๐๐ น. จำนวน ๒ รายวิชา ระยะเวลา ๑๑ สัปดาห์
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
๑) เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
๒) ไม่เป็นโรคหรือมีสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาอบรม
๓) ต้องมีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของ หน่วยงานนั้นๆ เต็มเวลา
คุณสมบัติเฉพาะ
๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จากสภาการพยาบาลที่ไม่หมดอายุ
๒) เป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๓) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก*หมายเหตุ: กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องมีระยะเวลาศึกษาอบรม ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติรวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ของเวลาการศึกษาทั้งหมด ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องได้เกรดเฉลี่ยทุกวิชาตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และเฉลี่ยสะสม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าระดับ ๒.๕๐ ตามระเบียบการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์ของสภา การพยาบาล และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๒
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th