ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและ การควบคุมการติดเชื้อ |
ภาษาอังกฤษ: | Program of Nursing Specialty in Nursing care of patients with infectious diseases and infection control |
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม: | ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและ การควบคุมการติดเชื้อ |
Certificate of Nursing Specialty in Nursing care of patients with infectious diseases and infection control | |
ชื่อย่อ: | ป.การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ |
Cert. in Nursing care of patients with infectious diseases and infection control |
หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย นอกจากนั้น สถานการ์ณการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ก็มีรายงานติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น SARS MERS อีโบลา ตลอดจนในปลายปี ๒๐๑๙ มีรายงานโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีนนับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ ๓๑ ธันวาคม ๒๐๑๙ จนถึงต้นปี ๒๐๒๐ นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ ๓ มกราคม ๒๐๒๐ ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่นมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ รายงานข้อมูลล่าสุดจาก South China Morning Post ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ พบผู้ป่วยติดเชื้อ ๓๔,๘๗๖ ราย รักษาหายดี ๑,๕๖๘ ราย และมีผู้เสียชีวิต ๗๒๔ ราย
และ มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อ 2019-nCoV นอกประเทศจีนมากกว่า ๒๐ ประเทศ เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน มาเก๊า สหรัฐอเมริกา และจากประเทศ เยอรมันนี ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส ( ข้อมูล ณ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๕๓ จากกองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ต่อมาการระบาดขยายตัวไปทุกทวีปทั่วโลกมากกว่า ๑๒๐ ประเทศ และในวันที่ ๑๑ มีนาคม 2563องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาศว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดใหญ่ (Pandemic) ไปทั่วโลก (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓) สถานการณ์ในต่างประเทศ รายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม ๑๔๔ ประเทศ ๒ เขตบริหารพิเศษ ๑ นครรัฐ เรือ Diamond Princess และ เรือ Grands Princess ในวันที่ ๑๔ มีนาคม จำนวน ๑๔๖,๒๘๐ ราย มีอาการรุนแรง ๖,๐๘๒ ราย เสียชีวิต ๕,๔๔๑ ราย โดยมียอดผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างเนื่อง ได้แก่ จีน ๘๐,๘๒๔ ราย ฮ่องกง ๑๓๘ ราย มาเก๊า ๑๐ ราย เกาหลี ใต้ ๘,๐๘๖ ราย อิตาลี ๑๗,๖๖๐ ราย อิหร่าน ๑๑,๓๖๔ ราย ฝรั่งเศส ๓,๖๖๑ ราย สเปน ๕, ๒๓๒ ราย เยอรมนี ๓,๖๗๕ราย ญี่ปุ่น ๗๓๘ ราย สิงคโปร์ ๒๐๐ ราย และไต้หวัน ๕๓ ราย องค์การอนามัยโลก นายแพทย์เทดรอส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญแถลงการว่ายุโรป เป็นศูนย์กลางการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของโลก หลังมีรายงานผู้ป่วยรายวันมากกว่าจีน เนื่องจากโรคดังกล่าวเป็นโรคอุบัติใหม่ จึงทำให้มีการสูญเสีย ชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก ส่งกระทบต่อภาวะจิตใจ ทำให้มีความตระหนก หวาดกลัว เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนและยารักษาที่เฉพาะ วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลียนไป และยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ เพราะทำให้ หลายประเทศต้องปิดประเทศเพื่อควบคุมการระบาด เช่น จีน อิตาลี และเดนมาร์กเป็นต้น
สำหรับประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๓ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม ๑๑๔ ราย พบผู้ป่วยรายใหม่ ๓๒ ราย มีอาการรุนแรง ๑ ราย เสียชีวิต ๑ ราย กลับบ้านแล้ว ๓๗ ราย ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสะสม ๖,๒๙๑ คน ผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังรายใหม่ ๑๑๕ คน (ศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข)
การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสําคัญที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกระดับ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กําลังพัฒนา ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาการของผู้ป่วยมีความรุนแรงขึ้น หรือต้อง พักรักษาอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น นอกจากนี้เชื้อโรคมีการพัฒนาการดื้อยาที่มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อดังกล่าวลดต่ำลงจนทำให้ไม่สามารถรักษาโรคของผู้ป่วยอย่างได้ผลทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้มากขึ้น และยังมีโอกาสในการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไปยังบุคลากรทางการแพทย์และหมุนเวียนกลับมายังผู้ป่วย อื่นๆ ในโรงพยาบาลต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อในโรงพยาบาลมีมูลค่ามหาศาล รวมถึง การสิ้นเปลืองทรัพยากรต่างๆ อีกมากมาย
สมหวัง และคณะ ได้รายงานสถานการณ์โรค ติดเชื้อในโรงพยาบาลในปีพ.ศ.๒๕๔๘ จากโรงพยาบาลทั่วประเทศจำนวน ๒๐ แห่ง พบว่าการ ติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อใน ระบบทางเดินหายใจส่วนล่างซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๓๖.๑ ร้อยละ ๒๕.๕ คือการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ และร้อยละ ๑๑.๐ เป็นการติดเชื้อแผลผ่าตัด โดยในการศึกษาครั้งนี้ พบว่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบ มาก คือ Pseudomonas aeruginosa, Klebsiella spp., Acinetobacter baumannii, Methicillin resistant Staphylococcus aureus (MRSA) และ Enterococci
ในปีพ.ศ. ๒๕๓๓ ภานุมาศ และคณะ ได้รายการข้อมูลการติดเชื้อใน โรงพยาบาล จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน ๑,๐๒๓ แห่ง โดยพบการ ติดเชื้อในโรงพยาบาล ๒๖๘,๖๒๘ ครั้งคิดเป็นร้อยละ ๓.๙๘ ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลจากแบคทีเรียสำคัญ ๕ ชนิด คือ Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Acinetobactor baumannii, Pseudomonas aeruginosa และ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus ซึ่งการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เกิดจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพพบ ว่ามีจำนวน ๘๗,๗๕๑ ครั้ง ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวต้องอยู่ โรงพยาบาลนานขึ้นประมาณ ๓.๒๔ ล้านวัน มีผู้ป่วยติดเชื้อ ดื้อยาต้านจุลชีพเสียชีวิต ๓๘,๔๘๑ ราย
การแก้ปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดคือ การควบคุม และการป้องกันก่อนเหตุการณ์จะเกิดขึ้น และ เมื่อมีการรายงานว่าพบการติดเชื้อในโรงพยาบาลเกิดขึ้นแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อจำกัดการติดเชื้อนั้นๆและรักษาผู้ติดเชื้อให้หายก่อนจะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น แต่การควบคุม และ การป้องกันจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยความร่วม มือของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงพยาบาล ทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเพื่อการควบคุม ป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน บุคลากรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะพยาบาลมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านการดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วย ตลอดจนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์ความรู้ทางการแพทย์และเทคโนโลยี
ดังนั้นคณะพยาบาลศาสตร์จึงดำเนินการจัดการศึกษาอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขา และควบคุมการติดเชื้อแก่พยาบาลจากหน่วยงานต่างๆโดยคาดหวังว่า ผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้แล้วจะสามารถปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และควบคุมการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเป็นแกนนำในการพัฒนาบุคลากรในด้านการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อไปได้ อันเป็นการตอบสนองนโยบาย และความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
พัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพให้มีสมรรถนะของการพยาบาลทางคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อแบบองค์รวม สามารถประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ การสอบสวนการระบาด ศึกษาการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก ส่งเสริมให้นำแนวปฏิบัติทางคลินิกไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่มีปัญหา ซับซ้อน ตลอดจนประเมินผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์หลัก
๑) ประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ๒) ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ๓) วิเคราะห์และอธิบายแนวคิดโครงสร้างองค์กรการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ ๔) วิเคราะห์และอภิปรายกลยุทธ์ในการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้เฝ้า ๕) ระวังโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล และสอบสวนการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อธิบายการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันและการควบคุม ๖) การติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ จัดทำและดำเนินโครงการโดยใช้แนวปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ หรือเพื่อการ ๗) ป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | ๑๕ | หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้ | ||
ภาคทฤษฎี | ๑๐ | หน่วยกิต |
ภาคปฏิบัติ | ๕ | หน่วยกิต |
รายวิชาในหลักสูตร
จำนวน ๑๑ หน่วยกิต ๕ รายวิชา
วิชาแกน | ||
จำนวน ๒ หน่วยกิต (๑ รายวิชา) | ||
พยคร ๖๒๗ | วิชานโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ | ๒ (๒-๐-๔) |
NSID 627 | Health Policy and Leadership |
วิชาบังคับของสาขาทางคลินิก | ||
จำนวน ๒ หน่วยกิต (๑ รายวิชา) | ||
พยคร ๕๗๐ | การประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ | ๒ (๑-๒-๓) |
NSID 570 | Health assessment in infectious patient |
วิชาการพยาบาลเฉพาะสาขา | ||
จำนวน ๑๒ หน่วยกิต (๓ รายวิชา) | ||
พยคร ๕๗๑ | การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ ๑ | ๔(๔-๐-๘) |
NSID 571 | Nursing care for patients with infectious diseases and infection control 1 | |
พยคร ๕๗๒ | การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ ๒ | ๒(๒-๐-๔) |
NSID 572 | Nursing care for patient with infectious disease and infection control 2 | |
พยคร ๕๘๕ | ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และการควบคุมการติดเชื้อ | ๕(๐-๒๐-๕) |
NSID 585 | Practicum in nursing care for patients with infectious diseases and infection control |
รายละเอียดรายวิชา
พยคร ๖๒๗ NSID 627 |
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ Health Policy and Leadership |
๒ (๒-๐-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
นโยบายสุขภาพ ปัญหาและแผนพัฒนากำลังคนทางการพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนด และประเด็นจริยธรรมในระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพในระบบสุขภาพ ทฤษฎีและการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ
พยคร ๕๗๐ NSID 570 |
การประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ Health assessment in infectious patient |
๒(๑-๒-๓) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิด หลักการและวิธีการประเมินภาวะสุขภาพ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การประเมินภาวะจิตสังคมและจิตวิญญาณ การตรวจพิเศษและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์และวินิจฉัยความผิดปกติจากการประเมินสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยโรคติดเชื้อ รายงานการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
พยคร ๕๗๑ NSID 571 |
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ ๑ Nursing care for patient with infectious disease and infection control 1 |
๔(๔-๐-๘) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
โครงสร้างองค์กรการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล บทบาทของพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรคติดเชื้อ กลยุทธ์ในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและ
พยคร ๕๗๒ NSID 572 |
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อ ๒ Nursing care for patients with infectious diseases and infection control 2 |
๒(๒-๐-๔) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
การพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อ การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ หลักการพยาบาลแบบองค์รวม การวิเคราะห์ความคุ้มทุน วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อแบบองค์รวม การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลทั้งโรคอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ โดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ รวมทั้งการวิเคราะห์ความคุ้มทุน
พยคร ๕๗๒ NSID 585 |
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และการควบคุมการติดเชื้อ Practicum in nursing care for patients with infectious diseases and infection control |
๕(๐-๒๐-๕) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ การสอบสวนการระบาด การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก การประเมินผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ระบบการศึกษา
ระบบทวิภาค
ระยะเวลาการศึกษาอบรม
กำหนดระยะเวลาการศึกษาอบรม 4 เดือน (16 สัปดาห์)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
๑) เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
๒) ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
๓) มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น ๆ เต็มเวลา
คุณสมบัติเฉพาะ
๑) เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น ๑ จากสภาการพยาบาล
๒) เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๓) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ในการสำเร็จการศึกษาอบรม ผู้เข้าอบรมจะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และต้องผ่านการประเมินผลการเรียนด้วยคะแนนเฉลี่ย (GPA) ในทุกวิชาไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th