ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ |
ภาษาอังกฤษ: | Program of Nursing Specialty in Breastfeeding |
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย: | ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ |
ภาษาอังกฤษ: | Certificate of Nursing Specialty in Breastfeeding |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักการและเหตุผล
นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิต เนื่องจากมีสารอาหารที่มีคุณค่ามากกว่า 200 ชนิด และมีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่สามารถพบได้ในอาหารชนิดอื่น นมแม่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของสมอง ช่วยลดอัตราตายและอัตราเจ็บป่วยในเด็ก ช่วยสร้างสายใยรักผูกพันระหว่างมารดาทารกและครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่งผลต่อเนื่องไปถึงสุขภาพในทุกช่วงวัยของชีวิตจากการช่วยลดโอกาสการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในมารดา (Binns, Lee & Low, 2016; Chowdury et al., 2015; Victora et al., 2015) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาการเจ็บป่วยของเด็กและการซื้อนมผสม 1.8 พันล้านบาทต่อปี และเพิ่มรายได้ประชาชาติ 6.7 พันล้านบาทต่อปี จากศักยภาพที่สูงขึ้นของเด็ก (มูลนิธิศูนย์นมแม่ประเทศไทย, 2560) นอกจากนั้นการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่กำหนดเป้าหมายที่ 2 คือการขจัดความหิวโหย และสร้างหลักประกันให้ทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบางอันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และปริมาณเพียงพอ เป้าหมายที่ 3 คุณภาพชีวิตที่สำหรับคนทุกวัย และเป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
องค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ จึงแนะนำให้แม่ทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงอายุ 6 เดือนแรก และได้รับนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น (WHO, 2011) โดยกำหนดเป้าหมายอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนคือ ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2568 และร้อยละ 70 ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งปัจจุบันพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 44 (UNICEF global databases, 2020) สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของนานาประเทศทั่วโลกต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนลดลงจากร้อยละ 23.1 ในปี พ.ศ. 2559 เป็นร้อยละ 14 ในปี พ.ศ. 2562 และได้รับนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยในช่วงอายุ 2 ปีแรกเพียงร้อยละ 15 (Thailand Multiple Indicator Cluster Survey, 2019) สะท้อนให้เห็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อร่วมกันปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ นโยบาย และแนวคิดระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แนวคิดและบทบาทพยาบาลในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภาวะโภชนาการเด็กในระยะ 2 ปีแรก วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่สตรีตั้งครรภ์ มารดา เด็ก และครอบครัว มีทักษะในการให้การปรึกษาและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในภาวะปกติ ปัญหาที่พบบ่อย และที่มีปัญหาซับซ้อน
วัตถุประสงค์เฉพาะ
ภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรม ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
1 อธิบายนโยบาย แนวคิดของระบบบริการสุขภาพ จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมาย วิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ได้ 2 อธิบายแนวคิดและบทบาทของพยาบาลในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ทั้งในภาวะปกติ ปัญหาที่พบบ่อย และปัญหาซับซ้อน ครอบคลุมทางด้านร่างกายและ จิตสังคม 3 อธิบายหลักการและความรู้พื้นฐานของการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่ ทั้งในภาวะปกติ ปัญหาที่พบบ่อย และปัญหาซับซ้อนได้ 4 วิเคราะห์ปัญหา วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่สตรีตั้งครรภ์ มารดา เด็ก และครอบครัว โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ทั้งในภาวะปกติ ปัญหาที่พบบ่อย และปัญหาซับซ้อน ได้ 5 ให้การปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งเสริมภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก
ในระยะ 2 ปีแรก
สมรรถนะของผู้ผ่านการอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
มีความรู้ เจตคติ และทักษะในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมาย
หลักจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมายวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก กฎหมายลาคลอด เป็นต้น ด้านความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1 มีความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ หลักบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบทบาทพยาบาล ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และระยะให้นมบุตรทั้งในภาวะปกติ ปัญหาที่พบบ่อย และปัญหาซับซ้อน
1.1 แนวคิดการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1.2 นโยบายและระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1.3 แนวคิดหลักการ และวิธีการประเมินสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ ทารกและเด็ก
1.4 ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
1.5 กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม
1.6 องค์ประกอบของน้ำนมแม่
1.7 การสื่อสารและการให้การปรึกษา
1.8 บทบาทพยาบาล
1.9 ปัญหาที่พบบ่อยและปัญหาที่ซับซ้อน
1.10 โอกาสเสี่ยงในการให้นมผสม
1.11 อาหารตามวัย ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก2 ปฏิบัติการพยาบาลแก่สตรีตั้งครรภ์ มารดา เด็ก และครอบครัว โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งในภาวะปกติและที่มีปัญหาซับซ้อน ครอบคลุมทางด้านร่างกายและจิตสังคม ดังนี้
2.1 ระยะตั้งครรภ์
2.1.1 สื่อสารและให้การปรึกษา เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างแรงจูงใจให้สตรีตั้งครรภ์รวมถึงครอบครัว มีความตั้งใจและมั่นใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.1.2 ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินปัญหา และเตรียมความพร้อมสตรีตั้งครรภ์รวมถึงครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.1.3 ให้การปรึกษา และส่งต่อ ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2.2 ระยะคลอด
2.2.1 บริหารจัดการและช่วยเหลือมารดาให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เหมาะสม บรรเทาความปวด และลดอาการอ่อนล้า เพื่อให้มารดามีความพร้อมในการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเร็วที่สุด
2.2.2 ประเมินปัญหาและเตรียมความพร้อมของมารดาและทารก สื่อสาร ชี้แนะ บริหารจัดการ และให้การช่วยเหลือมารดาในการกอดสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดาและทารก เพื่อให้ทารกดูดนมแม่ได้เร็วภายใน ½ ชั่วโมงแรกหลังคลอด หรือเร็วที่สุดเมื่อมารดาและทารกมีความพร้อม เพื่อให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในห้องคลอด2.3 ระยะหลังคลอด
2.3.1 ประเมินทักษะของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.3.2 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการการช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2.3.3 ช่วยเหลือมารดาให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง สนับสนุนมารดาและทารกได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา
2.3.4 วางแผนการจำหน่ายมารดาและทารกก่อนออกจากโรงพยาบาล ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างถูกต้อง2.4 ระยะหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
2.4.1 ระยะ 7 – 14 วันหลังคลอด
2.4.2 ระยะ 1 – 3 เดือนหลังคลอด
2.4.3 ระยะ 3 – 6 เดือนหลังคลอด
2.4.4 ระยะ 6 เดือน –2 ปีหลังคลอด- ติดตามเพื่อประเมิน วิเคราะห์ปัญหา ให้การปรึกษา ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของครอบครัว โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและแหล่งสนับสนุนในชุมชน
ด้านคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ
1 มีบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ แสดงออกถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 สนใจใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3 มีเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านภาวะผู้นำ การจัดการ และ การพัฒนาคุณภาพ
1 เป็นผู้นำในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 ประยุกต์ความรู้ในการจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล 3 ทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ/สร้างเครือข่ายในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านวิชาการและการวิจัย
1 มีความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใชหลักฐานเชิงประจักษ (Evidence-Based Practice) สู่การปฏิบัติ 2 มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในกระบวนการสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ
1 สื่อสาร/สร้างสัมพันธภาพ/สร้างแรงจูงใจ และให้คำปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 สื่อสารกับทีมสุขภาพให้เห็นความสำคัญและร่วมมือ ในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ด้านเทคโนโลยี และสารสนเทศ
1 สามารถใช้เทคโนโลยี ในการสืบค้นข้อมูล ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการพยาบาล 2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการนำเสนอผลงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ด้านสังคม
1 สามารถประสานเครือข่ายในระดับองค์กรและชุมชน เพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร | 15 | หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้ | ||
ภาคทฤษฎี 3 ชุดการเรียนรู้ | 10 | หน่วยกิต |
(1 หน่วยกิต = 15 ชั่วโมง) | ||
ภาคปฏิบัติ 2 ชุดการเรียนรู้ | 5 | หน่วยกิต |
(1 หน่วยกิต = 60 ชั่วโมง) |
ภาคทฤษฎี
จำนวน 10 หน่วยกิต
ชุดการเรียนรู้ที่ 1 นโยบายสุขภาพ | 2 หน่วยกิต | |
พยคร 627 | วิชา นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ | 2 (2-0-4) |
NSID 627 | Health Policy and Leadership |
ชุดการเรียนรู้ที่ 2 การประเมินภาวะสุขภาพ | 2 หน่วยกิต | |
พยคร 501 | การประเมินภาวะสุขภาพเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | 2 (1-2-3) |
NSID 501 | Health Assessment for Breastfeeding |
ชุดการเรียนรู้ที่ 3 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | 6 หน่วยกิต | |
พยคร 502 | แนวคิดหลักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | 2 (2-0-4) |
NSID 502 | Principle of Breastfeeding |
พยคร 503 | วิชา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาที่พบบ่อย | 2 (2-0-4) |
NSID 503 | Breastfeeding: Common Problems |
พยคร 504 | วิชา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาซับซ้อน | 2 (2-0-4) |
NSID 504 | Breastfeeding: Complicated Problems |
ภาคปฏิบัติ
จำนวน 5 หน่วยกิต
ชุดการเรียนรู้ที่ 4 ปฏิบัติการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | 4 หน่วยกิต | |
พยคร 593 | ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1 | 2 (0-8-2) |
NSID 593 | NSID 593 Breastfeeding Practicum I |
พยคร 594 | ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 | 2 (0-8-2) |
NSID 594 | Breastfeeding Practicum II |
ชุดการเรียนรู้ที่ 5 ปฏิบัติการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | 1 หน่วยกิต | |
พยคร 595 | ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน | 1 (0-8-2) |
NSID 595 | Breastfeeding Practicum in Community |
หมายเหตุ a(b-c-d)
a หมายถึง จำนวนหน่วยกิตรวมของรายวิชา
b หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนทฤษฎีของรายวิชานั้นใน 1 สัปดาห์ (1 หน่วยกิต = 1 ชั่วโมง/สัปดาห์) : รายวิชาทฤษฎี 1 หน่วยกิต ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหา ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง
c หมายถึง จำนวนชั่วโมงการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ/ในคลินิก/แหล่งฝึกประสบการณ์
- การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต = 2 – 3 ชั่วโมง/ สัปดาห์ : การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง
- การฝึกปฏิบัติในคลินิก/ หน่วยฝึกปฏิบัติ 1 หน่วยกิต = 4 ชั่วโมง/ สัปดาห์ : การฝึกปฏิบัติในคลินิก/ หน่วยฝึกปฏิบัติ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า
60 ชั่วโมงd หมายถึง จำนวนชั่วโมงการศึกษาด้วยตนเอง
- การศึกษาภาคทฤษฎี 1 ชั่วโมง ศึกษาด้วยตนเอง 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
- การฝึกภาคปฏิบัติ/ฝึกประสบการณ์ 1 ชั่วโมง ศึกษาด้วยตนเอง 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
แผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จัดการอบรมที่ให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเลือกเรียนได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบที่ 1) เรียนเต็มเวลา หรือ รูปแบบที่ 2) เรียนเป็นโมดูล ดังนี้
แผนการฝึกอบรมแบบที่ 1 เรียนเต็มเวลา: จัดการอบรม 5 ชุดการเรียนรู้ จำนวน 15 หน่วยกิต เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 16 สัปดาห์ ดังนี้
- จัดการเรียนการสอนในภาคทฤษฎี (ชุดการเรียนรู้ที่ 1, 2, และ 3)
จำนวน 10 หน่วยกิต เป็นรูปแบบ online เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์- จัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ (ชุดการเรียนรู้ที่ 4 และ 5)
จำนวน 5 หน่วยกิต เป็นรูปแบบ onsite เป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์แผนการฝึกอบรมแบบที่ 2 เรียนเป็นโมดูล: จัดการอบรม 5 ชุดการเรียนรู้ จำนวน 15 หน่วยกิต โดยผู้เข้าอบรมสามารถเลือกเรียนชุดการเรียนรู้ตามความสนใจ และตามระยะเวลาที่เปิดการฝึกอบรม ดังนี้
- การเรียนการสอนในภาคทฤษฎี
ก. ชุดการเรียนรู้ที่ 1 นโยบายสุขภาพ
จำนวน 2 หน่วยกิต เรียนเป็นรูปแบบ online เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์
ข. ชุดการเรียนรู้ที่ 2 การประเมินภาวะสุขภาพ
จำนวน 2 หน่วยกิต เรียนเป็นรูปแบบ online เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์
ค. ชุดการเรียนรู้ที่ 3 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
จำนวน 6 หน่วยกิต เรียนเป็นรูปแบบ online เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์- การเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ
ก. ชุดการเรียนรู้ที่ 4 ปฏิบัติการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
จำนวน 4 หน่วยกิต เรียนเป็นรูปแบบ onsite เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
ข. ชุดการเรียนรู้ที่ 5 ปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน
จำนวน 1 หน่วยกิต เรียนเป็นรูปแบบ onsite เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์
รายละเอียดรายวิชา
พยคร 627 NSID 627 |
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ Health Policy and Leadership |
2 (2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
นโยบายสุขภาพ ปัญหาและแผนพัฒนากำลังคนทางการพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนด และประเด็นจริยธรรมในระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพในระบบสุขภาพ ทฤษฎีและการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ
พยคร 501 NSID 501 |
การประเมินภาวะสุขภาพเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Health Assessment for Breastfeeding |
2 (1-2-3) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
หลักการ และวิธีการประเมินภาวะสุขภาพ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การประเมินภาวะจิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การวิเคราะห์ภาวะปกติและภาวะผิดปกติ การตัดสินใจทางคลินิก รายงานการประเมินภาวะสุขภาพของสตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ทารกและเด็กเล็ก
พยคร 502 NSID 502 |
แนวคิดหลักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Principle of Breastfeeding |
2 (2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดหลักในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กายวิภาคของเต้านม กลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม องค์ประกอบของน้ำนมแม่ ความแตกต่างระหว่างนมแม่กับนมผสม ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทบาทพยาบาลในการปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน การสื่อสารและการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และระยะให้นมบุตรโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
พยคร 503 NSID 503 |
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาที่พบบ่อย Breastfeeding: Common Problems |
2 (2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่พบบ่อย ในมารดาระยะให้นมลูก ทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก การวิเคราะห์ การตัดสินใจทางคลินิก วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล และการวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวม ในการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก่มารดา เด็กป่วย เด็กมีปัญหาโภชนาการ และครอบครัว โดยประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
พยคร 504 NSID 504 |
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: ปัญหาซับซ้อน Breastfeeding: Complicated Problems |
2 (2-0-4) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดเกี่ยวกับปัญหาที่ซับซ้อน ในมารดาระยะให้นมลูก ทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก การวิเคราะห์ การตัดสินใจทางคลินิก วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล และการวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวม ในการปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก่มารดา เด็กป่วย เด็กมีปัญหาโภชนาการ และครอบครัว โดยประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อที่หลากหลาย การมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
พยคร 593 NSID 593 |
ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1 Breastfeeding Practicum I |
2 (0-8-2) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก่สตรีระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ที่มีภาวะปกติ รวมทั้งทารกแรกเกิดปกติ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และใช้กระบวนการพยาบาลในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล วินิจฉัยปัญหา วางแผนการดูแล และติดตามประเมินผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
พยคร 594 NSID 594 |
ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2 Breastfeeding Practicum II |
2 (0-8-2) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาที่มีปัญหาซับซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด รวมทั้งทารกแรกเกิดที่มีปัญหาซับซ้อน และครอบครัว ใช้กระบวนการพยาบาลในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การตัดสินใจทางคลินิก วินิจฉัยปัญหา วางแผนการดูแล และติดตามประเมินผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์/นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
พยคร 595 NSID 595 |
ปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน Breastfeeding Practicum in Community |
2 (0-8-2) หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติในชุมชนเพื่อการปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยใช้กระบวนการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ให้การพยาบาลแบบองค์รวมแก่สตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ทารกและเด็กเล็ก ประเมินปัญหา ช่วยเหลือ ให้การปรึกษาแก่มารดาและครอบครัวเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในชุมชน
ระยะเวลาการฝึกอบรม
15 สัปดาห์
( / ) เรียนเต็มเวลา
( / ) เรียนเป็นโมดูล (Module)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
คุณสมบัติเฉพาะ
- เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ไม่หมดอายุ จากสภาการพยาบาล
- เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
- ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
หมายเหตุ กรณีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
การสำเร็จการศึกษา
- ผู้เข้าอบรมรูปแบบที่ 1 เรียนเต็มเวลา จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาอบรมภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- ผู้เข้าอบรมรูปแบบ รูปแบบที่ 2 เรียนเป็นโมดูล จะต้องเรียนเก็บสะสมชุดการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 5 ชุดการเรียนรู้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และมีระยะเวลาในการศึกษาอบรมภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
- ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องได้เกรดเฉลี่ยทุกวิชาไม่ต่ำ 2.00 และเกรดเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.50 ตามระเบียบการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล
Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th