บริการด้านสุขภาพ

บริการด้านสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของนักศึกษาทั้งทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน และการรักษาในภาวะเจ็บป่วย โดยมีการจัดสวัสดิการ และบริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ

ประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเรื่องปรับเปลี่ยนการฝึกปฏิบัติงาน / ฝึกอบรม (Elective) ในประเทศกรณีสถานการณ์ไม่ปกติและแนวทางป้องกันโรคติดต่อของนักศึกษาทุกระดับที่จะเข้ามาฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ในคณะฯ พ.ศ. 2563

ตามประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเรื่องแนวปฏิบัติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดฝึกปฏิบัติงาน / ฝึกอบรม (Elective) กรณีสถานการณ์ไม่ปกติอันเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงวันที่ 19 มีนาคม 2553 ที่ให้งดรับ-ส่งนักศึกษาทุกหลักสูตรฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้น

เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลายดังนั้นเพื่อให้การสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาทุกระดับแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพจึงเห็นสมควรยกเลิกประกาศคณะฯ ข้อ 2 กรณีฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ในประเทศนอกนั้นยังคงให้ดำเนินการตามประกาศเดิมจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ขอให้นักศึกษาทุกระดับแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่จะเข้ามาฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ในคณะฯ ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปต้องปฏิบัติดังนี้

1. ต้องมีหลักฐานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการได้รับวัคซีนมีประวัติการเป็นโรคในอดีตหรือมีผลตรวจพบว่าภูมิคุ้มกันดังข้อ 1.1-1.5 เว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ในการรับวัคซีน

1.1 การได้รับวัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) อย่างน้อย 2 ครั้ง

1.2 การได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (varicella) อย่างน้อย 2 ครั้งหรือมีผลตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส (varicella Ab) หรือมีประวัติการเป็นโรคอีสุกอีใสในอดีตพร้อมใบรับรองแพทย์และสำเนาหลักฐานการตรวจวินิจฉัย

1.3 การได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (hepatitis B) อย่างน้อย 3 ครั้งหรือมีผลการตรวจพบว่าพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคตับอักเสบบี (anti-HBs 2 10 เบ / mL)

1 4 การได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยัก หรือวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยักไอกรนโดยได้รับวัคซีน tetanus-diphthena (Td) หรือ tetanus-diphnera-acellular pertusss vaccine (Tdap) จำนวน 1 ครั้งภายใน 10 ปี

1.5 การได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จำนวน 1 ครั้งภายใน 1 ปี

2. ต้องมีผลการตรวจภาพรังสีทรวงอกปกติภายใน 6 เดือนกอนมาฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ทั้งนี้หากพบความผิดปกติที่สงสัยเป็นโรควันโรคต้องได้รับการรักษากชนเข้าฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective)

- ประกาศคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเรื่องปรับเปลี่ยนการฝึกปฏิบัติงาน / ฝึกอบรม (Elective) ในประเทศกรณีสถานการณ์ไม่ปกติและแนวทางป้องกันโรคติดต่อของนักศึกษาทุกระดับที่จะเข้ามาฝึกปฏิบัติงานฝึกอบรม (Elective) ในคณะฯ พ.ศ. 2563

การฉีดวัคซีนตามแนวทางป้องกันโรคติดต่อของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559

นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ จะได้รับการฉีดวัคซีนตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางป้องกันโรคติดต่อของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559  โดยจะต้องดำเนินการเช่นเดียวกัน  ดังนี้ (ยกเว้น ในรายซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับวัคซีนแล้ว)

 

วัคซีน

แนวปฏิบัติ

1. Measles, Mumps and Rubella (MMR) : หัด คางทูม หัดเยอรมัน ต้องได้รับการฉีดวัคซีน trivalent MMR เพื่อกระตุ้น 1 เข็ม เว้นแต่ มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น แพ้หรือตั้งครรภ์
2. Varicella (Chicken pox) : สุกใส ต้องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนได้รับวัคซีน
กรณีที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ต้องได้รับวัคซีน VZV 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือนเว้นแต่ มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น แพ้หรือตั้งครรภ์
3. Hepatitis B : ไวรัสตับอักเสบ บี ต้องได้รับการตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน ได้แก่ anti HBs antibody with titer และ HBsAg ก่อน
anti-HBsAb < 10 IU/ml และ HBsAg ให้ผลลบ ควรได้รับวัคซีนตามแนวทางมาตรฐาน สำหรับผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ.2535 ให้ฉีด 1 เข็ม แล้วตรวจซ้ำหลังฉีด 1 เดือน หากผล anti-HBsAb เป็น negative ให้ฉีดเพิ่ม 2 เข็ม เว้นแต่ มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น แพ้
anti-HBsAb < 10 IU/ml และ HBsAg ให้ผลบวก ควรได้รับคำแนะนำจากอายุรแพทย์
anti-HBsAb > 10 IU/ml และ HBsAg ให้ผลลบ ถือว่ามีภูมิคุ้มกันแล้ว ไม่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม
4. Diphtheria, Tetanus and Pertussis : คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก  ถ้าไม่ได้รับวัคซีนภายใน 10 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีน dTเพื่อกระตุ้น 1 เข็ม เว้นแต่ มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น แพ้ (ในกรณีที่มีการระบาด Pertussis ให้ฉีดวัคซีน TdaP)
5. Influenza : ไข้หวัดใหญ่ เฉพาะนักศึกษาที่ต้องขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ต้องได้รับการฉีดวัคซีนปีละ 1 เข็ม เว้นแต่ มีข้อห้ามทางการแพทย์ เช่น แพ้

การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (chest x-ray)

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ประสานกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ารับ   การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (chest x-ray) เป็นประจำทุกปี

การคัดกรอง ส่งเสริมสุขภาพจิต/การปรึกษา

คณะพยาบาลศาสตร์ มีการส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาทุกชั้นปีโดยคณาจารย์ ภาควิชาสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ และมีบริการด้านการปรึกษาจากอาจารยที่ปรึกษา อาจารย์ประจำชั้น และบริการให้คำปรึกษาจากภาควิชาสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

สามารถโทรนัดหมายที่หมายเลข 097-956-5958 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่บริการให้คำปรึกษาสุขภาพจิตสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (รายละเอียดเพิ่มเติม)

แนวทางการดูแลสุขภาพจิตของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์

ประกันอุบัติเหตุ

นักศึกษาทุกคนจะได้รับประกันอุบัติเหตุ วงเงินค่ารักษาพยาบาล 10,000.00 บาท/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม ถึง วันที่ 1 ตุลาคม ของปีถัดไป

ขั้นตอนการเบิกจ่าย

1. นักศึกษาเขียนแบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนชีวิตและร่างกาย (Non-motor)   
2. แนบเอกสารใบรับรองแพทย์ (ฉบับจริง) ใบเสร็จรับเงิน (ฉบับจริง) และสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีประสงค์รับเงินค่าสินไหนทดแทนโดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร

หมายเหตุ ให้นักศึกษาดำเนินการเขียนแบบฟอร์ม และส่งเอกสารแนบได้ที่งานพัฒนานักศึกษา     ห้อง one stop service ชั้น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

การรักษาพยาบาล และการเยี่ยมนักศึกษาเจ็บป่วย

นักศึกษาที่มีปัญหาด้านสุขภาพสามารถรับบริการรักษาพยาบาลขั้นต้นในคณะพยาบาลศาสตร์        ทั้งพื้นที่บางกอกน้อย ศาลายา และหอพักคณะพยาบาลศาสตร์ บางขุนนนท์ และสามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาทั้ง 10 หน่วยของมหาวิทยาลัย ตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับบริการสุขภาพของนักศึกษา พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ นักศึกษาที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล พักค้างคืนในสถานพยาบาลจะมีสวัสดิการเยี่ยมไข้ ตามประกาศ คณะพยาบาลศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่าของเยี่ยมไข้ให้แก่นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ (รายละเอียดเพิ่มเติม)

แนวทางการให้บริการสุขภาพนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์

หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์

สถานที่ตั้ง
พื้นที่ศาลายา ห้องพยาบาล ชั้น 5 (ห้อง 505)  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
โทร. 02-4415333 ต่อ 2551

เปิดให้บริการจันทร์-ศุกร ์เวลา 08.00-16.00 น

หน่วยสุขภาพ MU Health ชั้น 1 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา          
โทร. 02-849-4529 ถึง 30 

เปิดให้บริการจันทร์-ศุกร ์เวลา 08.30-17.00 น.

ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก
โทร. 02-849-6600

เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.

พื้นที่บางกอกน้อย ห้องพยาบาล ชั้น 9 (ห้อง 912) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
โทร. 081-803-2978 (เบอร์โทรศัพท์งานพัฒนานักศึกษา)

เปิดให้บริการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.

หน่วยบริการสุขภาพนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ห้อง 499 ชั้น 4 อาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช
โทร. 02-419-7389, 4031

เปิดบริการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. กรณีไม่มีนัดหมาย ควรรับคิวก่อน 09.30 น.

หอพัก
คณะพยาบาลศาสตร์ บางขุนนนท
ห้องพยาบาล อาคารอำนวยการ
โทร. 02-424-2584

เปิดให้บริการทุกวัน 24 ชั่วโมง