เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Research
-
Activity / Programme
หัวข้อ | รายละเอียด | ||||
ชื่อกิจกรรม/โครงการ: | พัฒนาระบบและกลไกเพื่อสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ภาคกลางและตะวันตก | ||||
Indicator: | 3.2 ยุติการตายที่ป้องกันได้ของทารกแรกเกิดและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยทุกประเทศมุ่งลดอัตราการตายในทารกลงให้ต่ำถึง 12 คน ต่อ การเกิดมีชีพ 1,000 คน และลดอัตราการตายในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลงให้ต่ำถึง 25 คน ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน ภายในปี 2573 | ||||
ที่มาและความสำคัญ: | วัยทองของการพัฒนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย คือช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สมองมีการพัฒนาการสูงสุดส่งผลต่อสติปัญญา บุคลิกภาพ และความฉลาดทางอารมญืในอนาคต เด็กที่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า การดูแลสุขภาพที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี ได้รับการกระตุ้นการเรียนรู้อย่างถูกต้อง ในช่วงแรกของชีวิต จะช่วยให้เด็กมีสุขภาพกายใจ มีพัฒนาการ สติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ที่ดี เพื่อเตรียมก้าวสู่วัยเรียนและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต | ||||
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ: | 5 เมษายน 2562 - 30 กันยายน 2563 (18 เดือน) | ||||
สถานที่จัดกิจกรรม/ โครงการ: | 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นศูนย์เรียนรู้ จำนวน 3 พื้นที่ 1.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านราชคราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 1.3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพุเลียบ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่าย จำนวน 39 ศูนย์ 3.พื้นที่พัฒนาระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3.1 อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.2 อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
||||
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้เสีย: | 1.คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล 2.สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล 3.วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล 4.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล 5.ที่ว่าการอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6.เทศบาลตำบลราชคราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 7.เทศบาลเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 8.เทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี 9.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
||||
วัตถุประสงค์: | 1.เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่ายยกระดับคุณภาพ โดยใช้ศักยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นศูนย์เรียนรู้ใน 3 จังหวัด 2.เพื่อสนับสนุนระบบและกลไกการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับอำเภอให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
||||
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ: | กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นศูนย์เรียนรู้ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบก้าวกระโดด กิจกรรมที่ 3 การติดตามและการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 4 การถอดบทเรียนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมที่ 5 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการพัฒนานโยบายสาธารณะ |
||||
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม: | เด็กปฐมวัย อายุ 0-6 ปี จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | ||||
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม: | 150 คน | ||||
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม: | 1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่ายจำนวน 39 ศูนย์ มีกระบวนการพัฒนาระบบอยู่ในเกณฑ์ดี 2.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป้าหมายได้รับการติดตามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น 4.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป้าหมายที่มีปัญหาพัฒนาการได้รับการดูแล 100% 5.เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการดูแล 100 % |
||||
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน: |
https://ns.mahidol.ac.th/nurse_th/annual_activities/2562/02/COACT.html https://ns.mahidol.ac.th/nurse_th/annual_activities/2562/02/COACT2.html |
||||
รูปภาพประกอบ: | |||||
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ | 2, 4, 5 |
-
Conference / Meeting
-
Copyright © 2024 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th