คณะพยาบาลศาสตร์ | มหาวิทยาลัยมหิดล |  

การบริการวิชาการ

    ภาควิชาสุขภาพจิตได้ให้บริการวิชาการแก่ประชากรเป้าหมาย

  1. บริการส่งเสริมสุขภาพจิต แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป
    ภาควิชาสุขภาพจิตฯได้จัดทำโครงการสำคัญ โครงการการปรึกษาทางสุขภาพจิต โครงการการเฝ้าระวังสุขภาพจิตของนักศึกษา โครงการพัฒนาความเชี่ยวชาญสาขาการพยาบาลจิตเวช เป็นต้น ภาควิชาฯ ได้วางแนวทางในการให้การบริการแก่สังคม ดังนี้
    1. เป็นผู้ให้บริการโดยตรง ได้แก่ ให้บริการปรึกษาแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่ศูนย์บริการปรึกษาของภาควิชา ทาง facebook ของภาควิชา: ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ และโทรศัพท์มือถือของภาควิชา: 089-6861316
    2. เป็นผู้ให้ความรู้แก่ชุมชนโดยเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางการสื่อสาร เช่น แผ่นพับ บอร์ดประชาสัมพันธ์ website ของคณะฯ
  2. เป็นที่ปรึกษาโครงการวิจัยแก่สถาบันและโรงพยาบาล
  3. ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตและสถาบันบริการสุขภาพจิต (สถาบันกัลยาณ์ สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา) ในการจัดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช และโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยถัมม์ในการจัดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กแลวัยรุ่น
  4. ฝึกอบรมระยะสั้นแก่พยาบาลวิชาชีพ เช่น การดูแลจิตใจในผู้ป่วยเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน

    การบริการวิชาการแก่สังคมที่ผ่านมา (2563-2565)

  1. ให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป เรื่อง “Major depressive disorder what to know & how to cope”, 2565
  2. ให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไปใน Webinar Meeting โดย National University of Singapore เรื่อง "Prototype development and pilot testing of the "MU My Mind" programme"
  3. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติแก่อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “การพัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะ empathic listening”, 2565
  4. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติแก่อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เรื่อง “ค้นหาความเข้าใจผ่านการฟังแบบ empathic listening”, 2565
  5. ให้ความรู้แก่อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่อง “สุขกายสุขใจ ปรับอย่างไรในยุคโควิด”, 2565
  6. ให้ความรู้ผ่านเรื่องเล่าเร้าพลังจากประสบการณ์ของอาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์แก่อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป เรื่อง “การรับมือกับนักศึกษา Gen Z”, 2565
  7. ให้บริการการปรึกษา...สุขภาพใจแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ให้บริการผ่าน Line official “NS พลังใจ”, 2564
  8. ให้บริการการปรึกษา “เพิ่มพลังใจแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19” (Home isolation” ให้บริการผ่าน Line official “NS พลังใจ”, 2564
  9. ให้บริการปรึกษา Hot line ส่งเสริมสุขภาพใจ คนไทยรับมือ Covid-19, 2564
  10. ให้บริการการคัดกรองและฉีดวัคซีน แก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป ในโครงการ “NS จิตอาสา หยุดเชื้อช่วยชาติ”, 2564
  11. ให้ความรู้ผ่าน Facebook live ในโครงการ พยาบาลมหิดลร่วมใจ ช่วยคนไทยปลอดภัยจากโควิด-19 เรื่อง “การดูแลสุขภาพใจในยุคโควิด-19” เรื่อง “การดูแลจิตใจในวิกฤติโควิด” เรื่อง “ดูแลสุขภาพใจผู้สูงวัยในช่วงวิกฤตโควิด-19” และ Facebook รู้ทัน ป้องกัน ภัย Covid-19 เรื่อง “รู้นะโควิดเสี่ยงแต่เราจะผ่านไปด้วยสังคมแห่งความเข้าใจกัน” เรื่อง “โควิด-19 น่ากลัวจริงหรือ?” เรื่อง “ตอบสนองอย่างไรดี...ในสถานการณ์ Covid-19” เรื่อง “หลังวิกฤติ Covid-19 วิถีชีวิตเราจะเปลี่ยนไปเพียงใด”, 2564
  12. ให้ความรู้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เรื่อง “ปรับใจให้เป็นสุขในการเรียนและการทำงานยุคโควิด” และ เรื่อง “Empower your Mental health during Covid- 19 pandemic”, 2564
  13. ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่หลักสูตร มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “การดูแลและช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาด้านสุขภาพใจ”, 2564
  14. ให้ความรู้แก่ครูโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เรื่อง “ทักษะการให้การปรึกษา”, 2563
  15. ให้ความรู้แก่นักเรียนแกนนำโรงเรียนทีปังกรพิทยาพัฒน์ และโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เรื่อง “ทักษะการให้การปรึกษา”, 2563
  16. ให้ความรู้แก่ครูที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ “ครูเพศวิถีพันธุ์ใหม่สำหรับวัยรุ่น เรื่อง “การให้คำปรึกษาสุขภาพทางเพศ”, 2563
  17. ให้ความรู้แก่ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินกีฬาเทเบิลเทนนิส สมาคมกีฬาคนพิการทางปัญญาแห่งประเทศไทย เรื่อง “ภาวะบกพร่องทางปัญญา รู้จัก เข้าใจ พัฒนา”, 2563

Copyright © 2019 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th