โครงการ การจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
โครงการ การจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน มีแนวคิดมาจากการที่ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุดภายในระยะเวลาอันใกล้ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุโดยเฉพาะมิติทางด้านสุขภาพจึงเป็นประเด็นที่ท้าทาย เนื่องจากผู้สูงอายุมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด สำหรับประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายปฏิรูป กระบวนการจัดบริการสุขภาพให้แก่ผู้ป่วย ไม่ติดต่อเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของแนวโน้มดังกล่าวจึงวางแผนจัด บริการวิชาการเชิงรุกเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 เป็นการบริการวิชาการแก่ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนตรอกไผ่-วัดบางเสาธง ชุมชนประชาร่วมใจ และชุมชนปลายซอยจรัญสนิทวงส์ 29 (ฝั่งซ้าย) จำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์-19 เมษายน 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับสูง และควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า 140/90 mmHg กิจกรรมประกอบด้วย การให้สุขศึกษา ฝึกทักษะการตั้งเป้าหมายและการวางแผนการดูแลตนเอง ฝึกทักษะการอ่านฉลากโภชนาการ สาธิตและสาธิตย้อนกลับการใช้อุปกรณ์วัดความเค็ม การให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ตลอดจนมีการถอดบทเรียน เพื่อให้ทราบปัจจัยส่งเสริม/ขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลการดำเนินงานพบว่า ร้อยละ 84 ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง (M = 118.92, SD = 10.36) มีค่าเฉลี่ย SBP 133.64 mmHg (M = 133.64, SD = 14.92) และค่าเฉลี่ย DBP 77.48 mmHg (M = 77.48, SD = 7.94) และสามารถควบคุม BP < 140/90 mmHg คิดเป็นร้อยละ 72 ในสัปดาห์ที่ 4 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นและมีค่าเฉลี่ย SBP ลดลงเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 12
กิจกรรมที่ 2 เป็นการบริการวิชาการแก่ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ในชุมชนตรอกไผ่-วัดบางเสาธง ชุมชนประชาร่วมใจ และชุมชนปลายซอยจรัญสนิทวงส์ 29 (ฝั่งซ้าย) จำนวน 30 คน ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์-16 พฤษภาคม 2563 เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรม การ รับประทานอาหารอยู่ในระดับสูง สามารถควบคุมระดับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า 130 mg% กิจกรรมประกอบด้วย การให้สุขศึกษา ฝึกทักษะการตั้งเป้าหมายและการวางแผนการดูแลตนเอง ด้านการรับประทานอาหาร อาหารแลกเปลี่ยน และการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารอยู่ในระดับสูง (Mean = 88.65 SD= 13.07) และ (Mean = 89.00 SD= 11.23) ในสัปดาห์ที่ 4 และ 12 ตามลำดับ
กิจกรรมดังกล่าว ช่วยส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี 2573 อันเป็นการส่งเสริมการสร้างหลักประกันให้คนมีสุขภาพดี และส่งเสริมสวัสดิภาพ สำหรับทุกคนในทุกวัย
Related to other SDGs:
กิจกรรมที่ 1: การจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
พฤติกรรมการดูแลตนเอง |
ค่าความดันโลหิต |
กิจกรรมที่ 2: การจัดการตนเองสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน
พฤติกรรมการดูแลตนเอง |
Copyright © 2024 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. Webmaster: nswww@mahidol.ac.th