คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิวัฒนาการมาจาก "โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้" ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย โดยมี ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในระยะต่อมาโรงเรียนได้พัฒนามาเป็นลำดับจนเป็น โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ได้รับพระราชทานนามเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ.2512)
พ.ศ.2515 โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับอนุมัติให้ยกวิทยฐานะเป็น "คณะพยาบาลศาสตร์" เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2515 นับเป็นคณะที่ 13 ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ เป็นภาควิชาหนึ่งในจำนวน 7 ภาควิชา ในการแบ่งส่วนราชการของคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่แรกเริ่มเนื่องจาก อาจารย์สอางค์โสม อาศนสถิตย์ (หัวหน้าแผนกการพยาบาลศัลยกรรม) ขอลาออกจากราชการ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการหัวหน้าภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คือ อาจารย์พรรณี จำนงษ์ ต่อมาท่านได้ขอย้ายกลับไปปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าพยาบาลแผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมสิริ ทับแสง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าถาควิชาฯ ต่อมาปี พ.ศ.2524 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมสิริ ทับแสง ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าถาควิชาฯ ต่อมาคือ รองศาสตราจารย์สมพันธ์ หิญชีระนันท์ ในปี พ.ศ.2538 รองศาสตราจารย์สมพันธ์ หิญชีระนันท์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองคณบดี รองศาสตราจารย์เพ็ญศรี ระเบียบ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ แทน ในปี 2542 รองศาสตราจารย์ผ่องศรี ศรีมรกต ได้รับการสรรหาและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาฯ จนถึงปี พ.ศ.2546 รองศาสตราจารย์กันยา ออประเสริฐ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ปี พ.ศ.2550 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพา ต่อสกุลแก้ว ได้รับการสรรหาและได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 จนถึงปี พ.ศ.2554 และได้รับการสรรหาและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาฯ อีกวาระหนึ่งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554
ในทุกวาระของหัวหน้าภาควิชาฯ ทุกท่าน มีนโยบายการบริหารงานของภาควิชาฯ กำหนดตามแนวปรัชญา วิสัยทัศน์ และนโยบายของคณะพยาบาลศาสตร์ และของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการตามระบบประชาธิปไตย และการประสานงานที่ดทั้งภายในและภายนอกวิชาฯ ปัจจุบันภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบการเรียนการสอนด้านการพยาบาลทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับศัลยกรรม ได้แก่ ศัลยศาสตร์ทั่วไปศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิดส์ จักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา รวมทั้งการพยาบาลผ่าตัด โดยเน้นการดูแลบุคคลทั้งคน และดูแลอย่างต่อเนื่องในทุกหลักสูตรที่คณะพยาบาลศาสตร์เปิดสอนในปัจจุบันเทคโนโลยีทางศัลยกรรมมีการพัฒนาอยางรวมเร็ว คณาจารย์ผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา ดังนั้นในการบริหารงานของภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ จึงเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านการเรียนการสอน การพัฒนาบุคลากรของภาควิชาฯ ให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่สอน มีความสามารถในการวิจัย สาขาการพยาบาลศัลยศาสตร์ และการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนให้บริการวิชาการแก่สังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ |