โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์
เรื่อง ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทยในเขตเมือง :กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร

อาจารย์ ดร.ฤดี ปุงบางกะดี่ วิทยากร
อาจารย์จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ ผู้ลิขิต

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทยในเขตเมือง: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยมี อาจารย์ ดร.ฤดี ปุงบางกะดี่ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา12.30-13.30 น. ณ ห้องประชุม 801/1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและผลกระทบของการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่น

วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นสตรีวัยรุ่นที่มีบุตรคนก่อนอายุน้อยกว่า 24 เดือน มารับบริการที่หน่วยหลังคลอด โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และโรงพยาบาลตากสิน จำนวน 30 ราย โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตขณะเยี่ยม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว มาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ

  1. ตัวสตรีวัยรุ่น ได้แก่การไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบของการตั้งครรภ์ซ้ำ และความล้มเหลวในการคุมกำเนิด
  2. สามีไม่สนับสนุนให้มีการคุมกำเนิด

สำหรับผลกระทบของการตั้งครรภ์ซ้ำพบว่าส่งผลกระทบต่อบุคคล 3 กลุ่ม คือ

  1. สตรีวัยรุ่นและสามี ได้แก่ภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวเพิ่มขึ้น ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างสามีและภรรยาและโอกาสในการศึกษาลดลง
  2. บุตรคนก่อน คือ การมีเวลาให้บุตรคนก่อนไม่เต็มที่
  3. ครอบครัว ได้แก่การเป็นภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย ที่พักอาศัยและการเลี้ยงดูบุตร

สรุปและข้อเสนอแนะ พยาบาลควรให้การปรึกษาและให้ข้อมูลแก่สตรีวัยรุ่นเพื่อเพิ่มความตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงและผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ซ้ำ ส่งเสริมให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดระยะยาวหรือมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรมีนโยบายสนับสนุนการคุมกำเนิดระยะยาวแก่สตรีวัยรุ่นหลังคลอด นอกจากนี้ควรให้การปรึกษาแก่สามี และมารดาของสตรีวัยรุ่นให้ตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้อาจารย์ที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ความสนใจ เรื่องผลการศึกษาและมีข้อเสนอแนะเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาฯ ต่อไป

การนำองค์ความรู้ไปใช้
ในการสอน วิชา การพยาบาล มารดาทารก และการผดุงครรภ์ 2 เรื่องการตั้งครรภ์วัยรุ่นเมื่อวันที่17 มีนาคม 2557 เวลา 9.00-9.30 น. ณ ห้อง301 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร.พรทิพย์ คณานับและ อาจารย์ ดร.ฤดี ปุงบางกะดี่ ได้นำองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทยในเขตเมือง: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร ได้แก่
สาเหตุของการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว มาจาก 2 ปัจจัยหลักคือ

  1. ตัวสตรีวัยรุ่น ได้แก่การไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบของการตั้งครรภ์ซ้ำ และความล้มเหลวในการคุมกำเนิด
  2. สามีไม่สนับสนุนให้มีการคุมกำเนิด

และผลกระทบของการตั้งครรภ์ซ้ำพบว่าส่งผลกระทบต่อบุคคล 3 กลุ่ม คือ

  1. สตรีวัยรุ่นและสามี ได้แก่ภาระค่าใช้จ่ายครอบครัวเพิ่มขึ้น ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างสามีและภรรยาและโอกาสในการศึกษาลดลง
  2. บุตรคนก่อน คือ การมีเวลาให้บุตรคนก่อนไม่เต็มที่
  3. ครอบครัว ได้แก่การเป็นภาระในเรื่องค่าใช้จ่าย ที่พักอาศัยและการเลี้ยงดูบุตร

ผู้ติดตามผลการนำองค์ความรู้ไปใช้           อ. จิตต์ระพี บูรณศักดิ์

 

 

รายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม

รศ. ศิริวรรณ สันทัด 
รศ . นันทนา ธนาโนวรรณ
ผศ . นิตยา  สินสุกใส
ผศ .  ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
ผศ . ปิยะนันท์  ลิมเรืองรอง
อ. พรทิพย์ คณานับ
อ.วรรณา พาหุวัฒนกร
อ.รุ่งทิพย์  กาศักดิ์
อ.กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
อ.อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
อ.จีรันดา อ่อนเจริญ
รศ . ยุวดี  วัฒนานนท์
ผศ . ทัศนีย์วรรณ  พฤกษาเมธานันท์
ผศ. กันยรักษ์   เงยเจริญ
ผศ . วาสนา จิติมา
อ . อัจฉรา มาศมาลัย
อ.ศุภาวดี วายุเหือด
อ.ฤดี ปุงบางกะดี่
อ.พุทธิราภรณ์  หังสวนัส
อ.รุ่งนภา รู้ชอบ
อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี
km_comkm_teen