เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
คณะพยาบาลศาสตร์มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษา ด้านวิจัยและบริการวิชาการ ระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์ และสถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล ในความรับผิดชอบของคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 9 สถาบัน ดังนี้
โดยสถาบันสมทบและคณะพยาบาลศาสตร์ จะประสานความร่วมมือ เพื่อดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รวมทั้งการประเมินหลักสูตรและการติดตามประเมินคุณภาพบัณฑิต
กิจกรรม
- ดำเนินการจัดสอบรวบยอดให้กับสถาบันสมทบ ทั้ง 9 แห่ง โดยจัดสอบปีละ 3 ครั้ง
- ดำเนินการเยี่ยมชมสถาบันสมทบ คณะพยาบาลศาสตร์ ทั้ง 9 แห่ง เพื่อศึกษาและเยี่ยมชมการดำเนินงานในด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมถึงจุดเด่นของแต่ละสถาบัน เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์
- ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการที่เป็น Best Practice ของคณะพยาบาลศาสตร์และสถาบันสมทบ
|
|
เครือข่ายความร่วมมือในการผลิตพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีการจัดทำโครงการความร่วมมือ (MOU) ในการผลิตพยาบาลวิชาชีพ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ให้กับสถาบันต่างๆ ดังนี้
- โครงการพยาบาลวิชาชีพ เพื่อศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จำนวน 6 รุ่นๆ ละ 20 คน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ปีการศึกษา 2549 ระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี
- โครงการพยาบาลวิชาชีพ เพื่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 5 คน เริ่มตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2551 ปีการศึกษา 2551 ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี
- โครงการพยาบาลเพื่อชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนปีละ 5 คน เริ่มปีการศึกษา 2551
เครือข่ายความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
คณะพยาบาลศาสตร์ ได้มีเครือข่ายความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง ให้กับสถาบันต่างๆ ดังนี้
1. สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
1.1 โครงการพิเศษ จังหวัดลพบุรี
1.2. โครงการพิเศษ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. สาขาการพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก โดยร่วมมือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
|