ขอต้อนรับสู่ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นศาสตร์และศิลป์ในการส่งเสริม ป้องกัน บำบัด และฟื้นฟูผู้รับบริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความสมดุลและความผาสุกในชีวิต
ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ เดิมเป็นหน่วยการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ สังกัดภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ ต่อมาได้รับอนุมัติแบ่งส่วนราชการเป็นภาควิชาหนึ่งในคณะพยาบาลศาสตร์ ตามประกาศในราชกิจจานุเบก ษา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2529 นับเป็นภาควิชาที่ 7 ของคณะพยาบาลศาสตร์ โดยมี
- นางสาวทัศนา บุญทอง
เป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนแรก (พ.ศ.2529-2530)
- นางสมศร เชื้อหิรัญ
ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 2 (พ.ศ.2531-2534)
- นางพวงเพ็ญ เจียมปัญญารัช
ได้รับการเลือกตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 3 (พ.ศ.2535-2538)
- นางสาววาสนา แฉล้มเขตร ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 4 (พ.ศ.2539-2542)
- นางจารุวรรณ ต.สกุล
ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 5 (พ.ศ.2542-2546)
- นางสาววาสนา แฉล้มเขตร ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 6 (พ.ศ.2546-2550)
- นางอติรัตน์ วัฒนไพลิน ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
คนที่ 7 (พ.ศ.2550-ปัจจุบัน)
ภาควิชาสุขภาพจิตฯ มีภาระกิจหลัก 4 ด้าน คือ จัดการเรียนการสอน ผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทางวิชาการ ให้บริการวิชาการแก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป ตลอดจนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
- ด้านจัดการเรียนการสอนสาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชแก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ด้านการผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทางวิชาการทางสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช
- ด้านบริการวิชาการในการส่งเสริมสุขภาพจิต แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป และร่วมมือกับสถาบันบริการสุขภาพจิตในการผลิตนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
- ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะ