ความเป็นมา
  ลงทะเบียน
  กำหนดการ / VDO
  สถานที่จัดประชุม
  ติดต่อสอบถาม
  Download เอกสาร

 

หลักการและเหตุผล

          รัฐบาลมีแผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่กำหนดทิศทาง การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้น เพื่อรองรับแผนนโยบายของชาติดังกล่าว การพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในวงการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโลกดิจิทัล มีการใช้ระบบอัจฉริยะ (Smart Everything) มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นยุคของการใช้เทคโนโลยี และแอปพลิเคชันอัจฉริยะต่างๆ ในขีวิตประจำวัน การเดินทาง การดูแลสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการรับมือกับภัยคุกคามต่างๆในอนาคต ที่จะมีผลกระทบต่อระบบสุขภาพของประชากร เพื่อจะได้วางแผนให้การช่วยเหลือ ได้ทันท่วงที

          สังคมไทยทุกวันนี้มีความตื่นตัวอย่างมากในเรื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต ตลอดจนการนำมาใช้ในระบบสาธารณสุข เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข การนำมาใช้สนับสนุนในการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชน ที่เป็นรูปธรรม เพิ่มการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ การเชื่อมต่อระบบบริการสุขภาพ การนำมาใช้ในการศึกษา และการรักษาพยาบาล และการวิจัย การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การขับเคลื่อนทางด้านดิจิทัล เช่น มีพัฒนาการใช้ Big data การใช้ Health informatics ระบบ 5G innovation และการพัฒนานวัตกรรม ที่เกี่ยวข้อง

          การดูแลสุขภาพบนโลกดิจิทัล ที่มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี เครื่องมือในการอำนวยความสะดวกมากมาย ในขณะที่มีภัยคุกคามทางระบบสุขภาพ โดยไม่ทันได้ตั้งตัว และเป็นปัญหาระดับโลก อย่างเช่น โรคระบาดที่เกิดจากไวรัส COVID-19 สถานการณ์เช่นนี้ กระทบระบบต่างๆ ทั้งความพร้อมด้านระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และ ความเชื่อมโยงของการทำงานของประเทศต่างๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทำให้มีความจำเป็น ต้องมีการเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ เข้ามาใช้ในด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การดูแลผู้ป่วย COVID-19 ตลอดจนการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ และ เกิดคุณภาพการดูแล เช่น การใช้ Telehealth ช่วยเฝ้าระวังผู้ป่วยในที่ต่างๆ สามารถเข้าถึงระบบการดูแลที่มีคุณภาพ ได้ทั่วถึง ผ่านสื่อทางไกล ระบบสุขภาพที่ทันสมัย ทั่วถึง และเท่าเทียม

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าพยาบาลศิริราชฯ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช จึงเห็นสมควรให้จัดการประชุมวิชาการประจำปี 2564 เรื่อง “การบริการสุขภาพบนโลกดิจิทัลอย่างชาญฉลาด (Smart Health Care on Digital World)”  ขึ้น เพื่อให้พยาบาล แพทย์ และ บุคลากรทางสาธารณสุข  รวมทั้งผู้ที่สนใจ  ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อม ในการขับเคลื่อนระบบการพยาบาล และสาธารณสุขไทย ด้วยเทคโนโลยีดิจทัล เพื่อนำไปสู่สังคม ที่มีการให้บริการ การศึกษา และการสร้างนวัตกรรมทางด้านสาธารณสุข ให้ประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อดำรงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. ทราบนโยบายดิจิทัล เพื่อคนไทย กับความท้าทายในช่วงความปกติใหม่ (New Normal)
  2. ทราบประสบการณ์ และความท้าทายในการก้าวข้ามวิกฤติโรค COVID 19 ในโลกดิจิทัล
  3. ทราบถึงทักษะดิจิทัล กับการดูแลสุขภาพอย่างชาญฉลาด
  4. ทราบแนวทางในการพัฒนาระบบการบริการ การปฏิบัติ การวิจัย การศึกษา และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพบนโลกดิจิทัล
  5. เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ การวิจัย การศึกษา และนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพบนโลกดิจิทัล ในกลุ่มบุคลากรทางสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน 500 คน ประกอบด้วย

  • อาจารย์ บุคลากรทางสุขภาพ ผู้บริหารการพยาบาลและพยาบาลวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน
  • นิสิตนักศึกษาพยาบาลจากสถาบันต่างๆ

วิธีดำเนินการ

การประชุมแบบผสมผสาน

  • การประชุมแบบลักษณะเดิม (on-site conference) ณ ห้องประชุมภัทรมหาราชการุณย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • การประชุมแบบลักษณะใหม่ (online conference) ผ่านระบบ Zoom

หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องฯ (CNEU)

หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องฯ (CNEU) 11 หน่วยคะแนน

 

 

Copyright 2020 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.

Webmaster: nswww@mahidol.ac.th