การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลแต่อาจไม่สามารถช่วยให้มารดาให้นมแม่อย่างเดียวได้จนถึง 6 เดือน และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้นได้ หากไม่มีการให้การสนับสนุน ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาเมื่อกลับบ้านไปแล้ว บุคลากรทางสาธารณสุขจึงควรศึกษาวิธีการที่จะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องด้วย ตัวอย่างหนึ่งคือการนัดหมายมารดาที่เรียกว่า “the seven+ contact” คือการนัดมารดาให้พบกับบุคคลที่ได้รับการอบรมการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามระยะเวลาต่างๆ คือ
ครั้งที่ 1 |
ระยะตั้งครรภ์ |
เตรียมมารดา |
ครั้งที่ 2 |
ระยะคลอด |
ให้นมแม่ครั้งแรก |
ครั้งที่ 3 |
ระยะหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง |
วันแรก |
ครั้งที่ 4 |
ระยะหลังคลอด – 3 วัน |
สัปดาห์แรก ครั้งที่ 1 |
ครั้งที่ 5 |
ระยะหลังคลอด – 4-7 วัน |
สัปดาห์แรก ครั้งที่ 2 |
ครั้งที่ 6 |
ระยะหลังคลอด – 7-28 วัน |
เดือนแรก |
ครั้งที่ 7 |
วัยทารก |
ระหว่าง 4-8 สัปดาห์ |
โดยบุคคลที่จะให้การสนับสนุนมารดาในการนัดพบแต่ละครั้งอาจเป็นบุคลากรทางการแพทย์หรืออาสาสมัครก็ได้ แต่จะต้องได้รับการอบรมการให้การปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาแล้ว ซึ่งการนัดพบอาจทำที่โรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข หรือที่บ้านของมารดาก็ได้ |