Counselling skills for breastfeeding support
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฉันทิกา จันทร์เปีย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิตยา  สินสุกใส

            การให้คำปรึกษา (Counselling) เป็นกระบวนการของการฟังอย่างตั้งใจและให้ความสนใจที่จะทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ จากมุมมองของผู้อื่น และช่วยให้เขาตัดสินใจว่าสิ่งใดดีที่สุดในสถานการณ์ของเขา และช่วยสร้างความมั่นใจในการทำสิ่งนั้น counseling ไม่ใช่การให้คำแนะนำหรือบอกให้เขาทำตาม

          Active listening หมายถึงว่าคุณกำลังให้ความสนใจจริงๆ กับการได้ยินสิ่งที่ผู้อื่นบอกเล่าและเข้าใจเรื่องราวนั้น ต้องยืนยัน ว่าสิ่งที่คุณเข้าใจนั้นถูกต้องก่อนที่จะตอบ ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่

    1. Body language (non-verbal communication)  ท่าทีที่แสดงว่าคุณตั้งใจฟัง เช่นพยักหน้าแสดงว่าเห็นด้วย น้ำเสียงนุ่มนวล นั่งในระดับเดียวกัน มองสบตา ไม่รีบร้อน ไม่ทำอย่างอื่น
    2. Showing you are interested แสดงให้มารดาทราบว่าคุณกำลังให้ความสนใจ พยักหน้า ส่งเสียงว่ารับฟังอยู่ มองสบตา หากเกิดความเงียบ ให้รอและแสดงความสนใจที่จะรับฟัง
    3. Asking open questions เป็นการสนับสนุนให้มารดาเล่าเรื่องเพิ่มเติม บางครั้งผู้เล่าจะเริ่มเข้าใจสถานการณ์ของตนเองดีขึ้น
    4. Avoid using judging words คำที่ใช้เป็นคำตัดสิน เช่น ถูก ผิด ใช่ ไม่ดี ดี เพียงพอ เหมาะสม เช่น แทนที่จะถามว่า เมื่อคืนหลับสบายดีไหม ให้เปลี่ยนไปถามว่า เมื่อคืนนอนเป็นอย่างไรบ้าง การใช้ judging words อาจทำให้มารดาแก้ตัว ไม่อยากเล่าหรือไม่อยากฟัง กังวลหรือขาดความมั่นใจ
    5. Reflecting back การสะท้อนกลับเป็นการแสดงให้มารดาทราบว่าคุณกำลังฟังสิ่งที่เธอพูด และเป็นการกระตุ้นให้มารดาพูดต่อไป เป็นการทิ้งช่วงเวลาให้คุณคิดสิ่งที่จะพูดต่อไป อาจใช้คำที่ต่างจากที่มารดาพูดเล็กน้อย ทางที่ดีควรพูดสั้นๆ
    6. Empathizing with what a mother feels เป็นการแสดงให้มารดาเห็นว่าคุณเข้าใจความรู้สึกของเธอ (จากมุมมองของเธอ) ต่างจาก sympathy ซึ่งเป็นการที่คุณรู้สึกเสียใจแทนคนอื่นในมุมมองของคุณเอง อย่าใช้คำพูดว่า ไม่ต้องกังวล ไม่มีปัญหา เพราะมันจะทำให้มารดารู้สึกผิด หรือ stupid ที่จะรู้สึกอย่างนั้น
    7. Ensuring meaning เป็นการใช้คำพูดสรุปสิ่งที่มารดาพูดเพื่อตรวจสอบว่าเราเข้าใจถูกต้อง จะช่วยให้มารดาทราบว่าเราตั้งใจฟังอยู่และอาจช่วยให้มารดามองสถานการณ์ในมุมที่ต่างออกไป

          Building confidence and giving support จะช่วยให้มารดาพยายามที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการใช้เทคนิคเหล่านี้

    1. Accepting what a mother thinks and feels บางครั้งมารดาอาจจะพูดอะไรที่คุณไม่เห็นด้วย และคุณเห็นว่าไม่ใช่ความคิดที่ดี แต่ถ้าคุณพูดตามที่คุณคิดทันที เธออาจจะไม่อยากคุยกับคุณต่อไป ทางที่ดียอมรับสิ่งที่เธอพูดแบบกลางๆ และอาจให้ข้อมูลที่ถูกต้องภายหลัง
    2. Praise and recognition บางครั้งในการที่เรามุ่งที่จะหาปัญหา จึงมักจะลืมไปว่ามารดาทำอะไรได้ถูกต้อง บ้าง อะไรที่ดีอยู่แล้ว การแสดงความชื่นชมกับสิ่งที่มารดาทำได้ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับมารดา เป็นการส่งเสริมให้เธอทำสิ่งนั้นต่อไป และจะทำให้มารดายอมรับคำแนะนำของเราได้ง่ายขึ้น คำชมนั้นควรจะเป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น การที่คุณให้ลูกดูนมบ่อยน่าจะช่วยทำให้น้ำนมมามาก
    3. Giving practical help หากมารดารู้สึกไม่สุขสบาย ปวดแผล กระหายน้ำ กังวล  เหนื่อย การใช้เทคนิค active listening อาจจะไม่พอ การให้ความช่วยเหลือโดยตรงน่าจะมีประโยชน์กว่า เช่นช่วยจัดท่าให้นอนสบายขึ้น หรือหาเครื่องดื่มให้
    4. Giving information not advice บางครั้งมารดาได้รับคำแนะนำที่หลากหลายซึ่งทำให้รู้สึกสับสนและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร การใช้วิธี แบ่งปันความรู้และให้ข้อมูลในลักษณะที่เป็นกลางๆ ที่มารดาสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง เช่น คุณแม่บางคนใช้วิธีนี้….. หรือคุณแม่บางคนทำอย่างนี้แล้วได้ผล หรือลูกจะดูดได้ง่ายขึ้นถ้าคุณ…    หากมารดาบอกว่าเธอไม่ต้องการทำอย่างที่คุณแนะนำ คุณควรยอมรับ และพูดคุยอย่างเป็นมิตร และอาจจะแนะนำสิ่งที่ป็นประโยชน์ภายหลัง ควรให้ข้อมูลที่ตรงประเด็น ง่าย และเป็นเชิงบวก
    5. Making suggestions, not commands การบอกให้ทำหรือการพูดเป็นลักษณะคำสั่งจะไม่ช่วยให้มารดาเกิดความมั่นใจในตนเอง การให้คำแนะนำเป็นการช่วยให้มารดาสามารถตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำ
    6. Summarise เป็นการสรุปว่าคุณได้พูดเกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยใช้คำสำคัญที่มารดาสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้ ซึ่งแสดงว่าคุณตั้งใจฟังสิ่งที่มารดาพูด และเป็นการเตือนความจำให้มารดาทราบว่าประเด็นใดสำคัญ
 
 
Copyright © 2021 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. 
Webmaster:
 nswww@mahidol.ac.th