Breastfeeding and health
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิตยา  สินสุกใส

  ประโยชน์ที่จะได้จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เหล่านี้มีหลักฐานชัดเจนหรือไม่
  • เริ่มให้ทารกดูดนมแม่ก่อนอายุ 1 ชั่วโมงตั้งแต่แรกเกิด
  • ให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว 4 เดือน
  • ให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพในระยะขวบปีแรก
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพในระยะยาว
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงหนึ่งขวบ
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงสองขวบ
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสุขภาพของมารดาในระยะต่อมา

ซึ่งการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เหล่านี้ควรคำนึงถึงคุณภาพของหลักฐาน

  • นักวิจัยมีคำถามการวิจัยที่ถูกต้องหรือไม่ เช่น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 เดือน หรือ 6 เดือน
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลัก (ร่วมกับอาหารอื่น) หรือเลี้ยงด้วยนมทั้งสองชนิดผสมกัน? คำจำกัดความเหมือนกันหรือไม่?
  • หลักฐานที่ได้สนับสนุน คัดค้าน หรือไม่มีหลักฐาน?
  • ผลการวิจัยที่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด หรือปริมาณที่ได้รับ (dose) หรือไม่?
  • รูปแบบการวิจัยเป็นอย่างไร? (observational, prospective, case control, cohort, sample size)?

         การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น (suboptimal breastfeeding) จะทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในระยะขวบปีแรกเพิ่มขึ้น เช่น neonatal septicaemia, diarrhoea, pneumonia, otitis media? และในระยะยาว เช่น cognitive & emotional development, allergy & coeliac disease, obesity, และ cardiovascular problem นอกจากนี้อาจมีผลต่อความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ SIDS (sudden infant death syndrome) invasive haemophillus influenza ในระยะยาวอาจเกิด เบาหวาน มะเร็ง inflammatorybowel disease ฟันผุ  มารดาอาจเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ กระดูกพรุน rheumatoid arthritis

         การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นใน 6 เดือนแรกจะมีผลให้ทารกขาดสารอาหาร การเจริญเติบโตไม่ดี เด็กจะไม่โตในช่วง 6 เดือนหลัง และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ดีในช่วงครึ่งปีหลัง จะมีผลต่อการขาดสารอาหารในขวบปีที่ 2 จากการศึกษาในฟิลิปปินส์ในปี 1973-75 ทารกถูกแยกจากมารดาและเลี้ยงด้วยนมผสม ซึ่งในปีถัดมา คือระหว่างปี 1975-77 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติในโรงพยาบาลโดยให้มารดาและทารกอยู่ในห้องเดียวกัน และให้กินนมแม่พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มจาก 40% เป็น 87% การติดเชื้อ ท้องร่วงacute lower respiratory infection และอัตราการเสียชีวิตลดลง ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจาก acute lower respiratory infectionได้ เพียงแต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็น 4 หรือ 6 เดือน จากข้อมูลของสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1988-1994 พบว่าทารกที่กินนมแม่ เต็มที่ 4-6 เดือนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด pneumonia ขณะที่ทารกที่กินนมแม่เกิน 6 เดือนมีโอกาสเพียง 1.6% และโอกาสเกิด recurrent otitis media ลดลง ส่วนการศึกษาอื่นพบว่าการให้นมผสมในช่วง 4-6 เดือนแรกทารกมีโอกาสเกิด wheezing illness ได้ 1.96 เท่าของทารกที่กินนมแม่ 6-8 เดือน จากการศึกษาเด็กอายุ 0-6 ปี ในประเทศสวีเดนปี 2004 พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างต่อเนื่อง ทำให้โอกาสติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะลดลงรวมถึงช่วงเวลาหลังจากที่ทารกงดนมแม่ไปแล้ว ซึ่งบ่งชี้ถึงผลระยะยาวของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งอาจจะเกิดจากกลไกการปกป้องการติดเชื้อจาก anti-adhesive oligosaccharides, intestinal colonization by virulence bacteria และ lactoferrin และ secretary IgAในปัสสาวะ

         Kennel and Klause ในปี 1976 ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ skin-to-skin contact 45-60 นาทีในช่วง 2 ชั่วโมงแรกของชีวิตทารกว่าจะมีผลต่อมารดาและทารกดังนี้

1 เดือน ทารกจะร้องไห้น้อย มารดาไม่ตั้งใจที่จะแยกจากบุตร มารดามักจะอุ้มลูกบ่อย กอด หอม มองสบตา
3 เดือน มารดาต้องการความช่วยเหลือน้อยลง ปัญหาน้อยลง มารดายังคงให้นมลูกตอนกลางคืน
6 เดือน มารดามีแนวโน้มที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นน้อย
1 ปี พฤติกรรมที่แสดงความรักต่อกันมากขึ้น มีความรักความผูกพันต่อกัน โอกาส abuse หรือทอดทิ้งมีน้อย
2 ปี พูดกับลูกมากขึ้น คำถามมากขึ้น คำสั่งน้อยลง
5 ปี ลูกมีคะแนนการทดสอบความฉลาดสูงขึ้น

         จากการศึกษาของ Kramer et al. (2008) ในเบลารุสเกี่ยวกับ child cognitive development ระหว่างเด็กที่เกิดในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่-ลูก (BFHI) กับโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็นโรงพยาบาล BFHI  พบว่าอัตรา exclusive breastfeeding เท่ากับ 43% และ 6.4% ตามลำดับ ผลการทดสอบ IQ พบว่ากลุ่มทารกที่เกิดใน BFHI มี IQ โดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม 5.9 จุด และส่วนของ verbal สูงกว่า 7.5 จุดและการศึกษาอื่นๆ ได้ผลในทำนองเดียวกัน พบว่าคะแนนการทดสอบ IQ สูงขึ้นตามระยะเวลาของการกินนมแม่ นอกจากนี้ ความฉลาดของมารดามีผลต่อการให้นมแม่มากกว่าปัจจัยด้านการศึกษา เศรษฐกิจสังคม หรือน้ำหนักทารกแรกเกิด การศึกษาแบบ prospective ในอังกฤษที่รายงานในปี 2011 พบว่าเด็กที่กินนมแม่ 4 เดือนหรือมากกว่าสัมพันธ์กับการมีปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กที่น้อยลงเมื่ออายุ 5 ปี จากการทบทวนงานวิจัยพบว่า พบว่าทารกที่กินนมแม่ 4-6 เดือน สามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดภูมิแพ้ cow’s milk protein allergy, atopic disease, และ wheeze in early childhood ในทารกที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ แต่ไม่มีหลักฐานในทารกที่ไม่มีภาวะเสี่ยง

         ระยะเวลาในการกินนมแม่ที่นานขึ้นสัมพันธ์กับแนวโน้มการลดลงของ coeliac disease แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นผลระยะยาวหรือเพียงแต่ชะลอการเกิดโรค พบว่าโรคภูมิแพ้จะลดลงถ้าไม่ให้ solid food ก่อนทารกอายุ 4 เดือน และพบว่าระยะเวลาในการให้ทารกกินนมแม่ที่เพิ่มขึ้นแต่ละเดือน จะลดโอกาสเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินได้ 4% ในแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้จากการติดตามทารกน้ำหนักน้อยเมื่อแรกเกิดจนถึงอายุ 13-16 ปีเปรียบเทียบ ระหว่างทารกที่กินนมแม่ กับทารกที่กินนมผสมพบว่า mean arterial blood pressure กลุ่มที่กินนมแม่ต่ำกว่า ส่วนในการศึกษาผลของนมแม่ต่อความดันโลหิตไม่ชัดเจนและพบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด Sudden infant death syndrome ในทุกอายุในช่วงขวบปีแรก ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงทารก 6-12 เดือนคือ ลดความรุนแรงของภาวะท้องร่วง ปอดบวม โอกาสเสี่ยงต่อโรคอ้วนลดลงตามการกินนมแม่ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน IQ เพิ่มขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ตามการกินนมที่นานขึ้น ปรับตัวในสังคมดีขึ้นลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมะเร็งรังไข่ และ rheumatoid arthritis ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะ 12-36 เดือนคือช่วยลดความรุนแรงของ shigellosis, vitamin A deficiency ลดการติดเชื้อ การขาดสารอาหาร ลดการตายจากการขาดสารอาหาร (ในบังคลาเทศ) และประโยชน์ที่เกิดจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเด็กโตขึ้นคือลดโอกาสเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 crohn’s disease, ulcerative colitis, Helicobacter pylori infection, และ leukaemia บางชนิดตามแนวคิด “The first 1000 days, A legacy of life” ทารกในครรภ์ถูกโปรแกรมไว้โดยสารอาหารที่ได้รับในระยะแรกของชีวิต เนื่องจากนมแม่มีโคเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง ทารกเรียนรู้ที่จะใช้สารอาหารเหล่านี้อย่างปลอดภัย หากทารกเกิดมาพร้อมกับการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ (undernutrition) จะทำให้เขาต้องเร่งการเจริญเติบโตซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ stroke พบว่าโรคที่เกี่ยวกับ metabolic syndrome เพิ่มขึ้นมากในผู้ใหญ่ที่ขาดสารอาหารในวัยเด็ก เด็กที่อ้วนผิดปกติในวัยทารกอาจจะมีปัญหาสุขภาพเมื่อโตขึ้น เช่น ADHD, dyslexia, dyspraxia, autism, stress response, bipolar disorder, และเป็น schizophrenia เมื่อเป็นผู้ใหญ่

 
 
Copyright © 2021 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. 
Webmaster:
 nswww@mahidol.ac.th