การประเมินปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เกิดจากปัญหาของเต้านมต้องประเมินจากอาการ (symptoms) เรามองเห็นอะไร สาเหตุชัดเจนหรือไม่ ทารกได้รับผลกระทบหรือไม่ การช่วยเหลือทันทีทำอย่างไร การจัดการขั้นต่อไป การรักษา และการป้องกันทำอย่างไร? เริ่มจากรูปร่างของเต้านมและหัวนม ลักษณะเต้านมปกติของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขนาดของเต้านมทั้งสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน ข้างที่ให้ลูกกินนมบ่อยกว่าจะใหญ่กว่าข้างที่ไม่ค่อยได้ให้ลูกดูด ขนาดของเต้านมไม่ได้แปลวว่าทารกจะมีปัญหากับการดูดนม และการที่ขนาดเต้านมต่างกันก็จะทำให้การจัดท่าอุ้มลูกดูดนมอาจจะต่างกันได้ ในรายที่หัวนมบุ๋ม (inverted nipple) อาจจะมีพังผืด (fibrosis) ดึงรั้ง เราอาจใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับโยกเบาๆ อาจจะทำให้หัวนมยืดออกมาได้ การแก้ไขหัวนมในช่วงตั้งครรภ์ไม่เกิดประโยชน์ ควรให้ความช่วยเหลือในช่วงหลังคลอด โดยช่วยให้มารดามีความมั่นใจ อธิบายให้ทราบว่าทารกดูดนมจากเต้านม ไม่ใช่จากหัวนม ให้ทารกได้สำรวจเต้านมแม่โดยการให้แม่อู้มทารกเนื้อแนบเนื้อ ช่วยให้แม่อุ้มลูกดูดนมโดยเร็ว อาจจะทดลองหลายๆ ท่า ช่วยให้หัวนมยืดออกมาได้ ในระยะ1-2 สัปดาห์แรก ถ้าจำเป็น อาจให้บีบนมออกมาป้อนด้วยถ้วย การใช้อุปกรณ์ (gadgets และ gizmos) ช่วย ปัจจุบัน ไม่แนะนำให้ใช้ nipple shield เนื้องจากทำให้เต้านมไม่ได้รับการกระตุ้นจากการดูดของทารก ทำให้นลดการสร้างน้ำนม ส่วน nipple shells ที่เป็นพลาสติกก็ไม่แนะนำเช่นกัน อาจใช้แบบที่เป็นซิลิโคนในการป้องกันน้ำนมไหลเลอะเทอะในระยะให้นมเท่านั้น ในรายที่หัวนมยาวและใหญ่ ป้องกันไม่ให้ทารกสัมผัสหัวนมมารดา อาจจะต้องห่อตัวทารกไว้หลวมๆ ช่วยจัดท่าให้ทารกอมหัวนมได้มากที่สุด และให้ความมั่นใจแก่มารดาว่าปากทารกจะโตและลึกขึ้นแต่หัวนมไม่โตขึ้น ดังนั้น ไม่นานทารกจะดูดนมแม่ได้ดีขึ้น ในระยะแรกอาจช่วยบีบนมใส่ปากขณะทารกดูดนมจากเต้า (direct expression) หลังจากทารกหยุดดูดนมแม่ ให้ใช้นมที่บีบจากเต้ามาป้อนด้วยถ้วยเพิ่มเติมเพื่อให้ทารกได้นมเพียงพอ ในรายที่มารดาหัวนมแตกและเจ็บหัวนม มักจะมีสาเหตุมาจากทารกมีพังผืดใต้ลิ้น การใช้ที่ปั๊มนมที่ไม่ได้ขนาดที่เหมาะสม แรงดูดมาก ติดเชื้อรา มีเยื่อบางๆอุดกั้นที่หัวนม (white spot or milk blisters) การอมหัวนมไม่ถูกต้อง ท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct)
White spot หรือ milk blister เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนมที่หัวนม สามารถเอาออกได้โดยการใช้เข็ม sterile เจาะ ให้ทารกดูด หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ ส่วนในรายที่มีพังผืดใต้ลิ้น ไม่ควรทำ frenulotomy ในทารกคลอดก่อนกำหนด การอมหัวนมไม่ถูกต้องมีผลให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาได้แก่ มารดาเจ็บหัวนม หัวนมแตก น้ำนมไม่ได้ถูกระบายออกทำให้เต้านมคัด การสร้างน้ำนมลดลง ทารกไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ ทารกหงุดหงิด ปฏิเสธการดูดนมแม่ น้ำหนักทารกไม่เพิ่มขึ้น การพบก้อนที่เต้านมถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติ ก้อนที่คงอยู่ตลอดหรือว่าใหญ่ขึ้นควรให้แพทย์ตรวจดู อาจเกิดจาก ท่อน้ำนมเต็ม เต้านมอักเสบ galactocele ที่เกิดจากท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งมักจะคลำพบลักษณะเรียบ กลม น้ำนมที่ขังอยู่แป็นน้ำนมข้น อาจใช้เข็มเจาะดูดออกได้ การมีเลือดปนในน้ำนมพบได้ประมาณ 15% ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่เป็นอันตราย อาจจะเกิดจากหลอดเลือดฝอยแตก papilloma (ก้อนเนื้องอกชนิดไม่รายแรงในท่อน้ำนม) เส้นเลือดขอด การใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกต้อง การที่มารดามีอาการเจ็บลึกๆ ในเต้านม (deep breast pain) อาจเกิดจาก referred pain จากหัวนม การถูกกระทบกระเทือน หรือการติดเชื้อ เชื้อรานอกจากนี้อาจเกิดจากเต้านมคัด เต้านมอักเสบ หลอดเลือดหดเกร็ง (Reynauds disease) referred pain จากอาการปวดหลัง เต้านมใหญ่มากหรือ prolactin เพิ่มสูงขึ้นทำให้ท่อน้ำนมมีน้ำนมส่งเข้ามาอย่างรวดเร็ว
ความแตกต่างระหว่าง full breasts และ engorgement การที่เต้านมเต็มเป็นอาการปกติที่เกิดได้ 1-2 สัปดาห์แรก ส่วน เต้านมคัดตึงเกิดเป็นปกติได้ในสัปดาห์แรก แต่จะถือว่าเป็นพยาธิสภาพหลังจากนั้น เนื่องจากมีปริมาณนมจำนวนมากในท่อน้ำนม จากการที่น้ำนมไม่ได้ถูกระบายออกการไหลเวียนโลหิตและ lymp เพิ่มขึ้น ท่อน้ำนมที่เต็มไปดวยน้ำนมไปขัดขวางการไหลเวียนโลหิตในหลอดเลือดดำและท่อ lymphatic drainageทำให้ มีน้ำซึมออกจากหลอดเลือดจึงเกิดอาการบวม ซึ่งในทางกลับกัน ไปขัดขวางการไหลของน้ำนม ทำให้หยุดการสร้างน้ำนม ผิวหนังถูกดึงยืดออก ทำให้เห็นผิวหนังที่เต้านมแดง เป็นมัน หัวนมแบนลง ทากอมหัวนมได้ยากขึ้น ความแตกต่างระหว่างเตานมเต็มและเต้านมคัดตึงมีดังนี้
Full breasts |
Engorged breast |
ร้อน |
ปวด |
หนัก |
บวม |
แข็ง |
แข็งตึง โดยเฉพาะ nipple ผิวเป็นมัน มีรอยแดงบางๆ กระจายอยู่บนเต้านม |
น้ำนมไหล |
น้ำนมไม่ไหล อาจมีน้ำนมหยด |
ไม่มีไข้ |
มีไข้ 24 ชั่วโมง |
|