Sustainable Development Goals (SDGs)

 

  • Home
  • The 17 Goals
  • Annual Report

Sustainable Development Goals (SDGs) 2022

  • 1. NO PROVERTY
  • 2. ZERO HUNGER
  • 3. GOOD HEALTH AND WELL-BEING
  • 4. QUALITY EDUCATION
  • 5. GENDER EQUALITY
  • 6. CLEAN WATER AND SANITATION
  • 7. AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY
  • 8. DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH
  • 9. INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE
  • 10. REDUCED INEQUALITIES
  • 11. SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES
  • 12. RESPONSIBLE CONSUMPTION AND PRODUCTION
  • 13. CLIMATE ACTION
  • 14. LIFE BELOW WATER
  • 15. LIFE ON LAND
  • 16. PLACE, JUSTICS AND STRONG INSTITUTIONS
  • 17. PARTNERSHIPS FOR THE GOALS

 


การพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียนมัธยมศึกษา

นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต “MU My mind”ช่วย ลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในนักเรียนมัธยมศึกษาได้

   สถานการณ์ปัจจุบัน ประชากรทุกช่วงวัยมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น มีสถิติการเกิดโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น

   ทีมวิจัยนำนวัตกรรม Mobile Application ที่พัฒนาขึ้น ภายใต้ชื่อ “MU My mind” และผ่านการทดสอบประสิทธิผลในระยะแรกแล้ว ไปใช้ในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง ในอ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

   นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะเข้า Application “MU My mind” เพื่อประเมินสุขภาพจิตด้วยตนเอง และเข้าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ จากนั้นประเมินสุขภาพจิตด้วยตนเองอีกครั้ง (Post test) ขณะนี้ นักเรียนกำลังทำ Post test และจะมีการติดตามผล 3, 6 เดือนหลังเข้าร่วมโปรแกรม

   เป้าหมายของ “MU My mind” คือ

  1. ลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย
  2. สร้างต้นแบบ “การส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต” ในสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
  3. ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพื่อขยายผลการวิจัยสู่สถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาอื่นๆ

   ในระหว่างดำเนินโครงการ พบนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง และมีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายสูงมาก ทีมวิจัยได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้ความรู้และประสานความร่วมมือกับแก่ครูแนะแนว ครูประจำชั้น และผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันดูแล และส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวช แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ให้การรักษาด้วยยา และรักษาด้วยไฟฟ้า ทีมวิจัยติดตามให้การดูแลอย่างต่อเนื่องแก่นักเรียนรายนี้ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ตลอดจนให้การปรึกษาและจิตบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาวะจิตใจจากโรคซึมเศร้า

   ในเบื้องต้น นักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลางที่ได้ใช้นวัตกรรม “MU My mind”  ให้ข้อมูลถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม ความน่าสนใจของ application แต่เนื่องจากยังเก็บข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน จึงยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ได้

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.นพพร ว่องสิริมาศ, รศ.ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร

ส่วนงานหลัก

คณะพยาบาลศาสตร์

ผู้ดำเนินการร่วม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(วิทยาเขตบางเขน)

Partners/Stakeholders

  • รศ.ดร.นพพร ว่องสิริมาศ และทีม จากภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.ดร.ธนาวินท์ รักธรรมานนท์  และทีม จากภาควิชาวิศวคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
  • ผู้บริหารโรงเรียน ครูแนะแนว ครูประจำชั้น ของโรงเรียนมัธยมจำนวน 2 แห่ง ในอ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
  • นักเรียน และผู้ปกครอง
  • โรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ อ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

 

 

 

Other Websites

  • Faculty of Nursing
  • Mahidol University

Other Websites

  • NS Green

Social Media

Contact Us

Office Building Bangkoknoi:
Pra Sri Patcharin Building

2 Wang Lang Road, Siriraj, Bangkoknoi, Bangkok 10700 Thailand.
Tel : 662-419-7466-80
Fax: 662-412-8415

 

Office Building Salaya:
Mahidol Adulyadej-Prasrinakarin Building

999 Phuttamonthon 4 Road, Salaya, Nakhon Pathom 73170 Thailand.
Tel: 662-441-5333,
662-441-5275-81

Copyright © 2024 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th