โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร

การจัดการความรู้

วิทยานิพนธ์ เรื่อง "ผลของโปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามี ต่อการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น ในระยะหลังคลอด"

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ผลของโปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามีต่อการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด” โดยมี อาจารย์กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์255612.30-13.30น.ห้องประชุม เพชรรัตน์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะ 4 สัปดาห์หลังคลอด  มีสมมติฐานการวิจัย คือมารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาดีกว่ามารดาวัยรุ่น ในกลุ่มควบคุม  ในระยะ 4 สัปดาห์หลังคลอด  ใช้กรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้

ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นมารดาหลังคลอดอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 19 ปี ที่คลอดบุตรคนแรก ที่หอผู้ป่วยหลังคลอดสามัญ  ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา  โรงพยาบาลศิริราช     เก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555

กลุ่มตัวอย่าง
การกำหนดขนาดตัวอย่าง ได้จากการวิเคราะห์ขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้อำนาจการทดสอบ (Power Analysis) ของโคเฮน (Cohen, 1988) และอ้างอิงจากงานวิจัยของอดิณา ศรีสมบูรณ์ (2553) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 25 คนและกลุ่มทดลอง 25 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย

  •  โปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามี

2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  • แบบสัมภาษณ์ : ข้อมูลส่วนบุคคล
                        : การปรับตัวด้านบทบาทของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด
  • แบบบันทึกปัญหาและให้คำแนะนำทางโทรศัพท์

โปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามี

  • สร้างขึ้นจากทฤษฎีการปรับตัวของรอย (2009) และจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับบทบาทการเป็นมารดาของโบเบคและเจนเซน (1992)
  • ดำเนินกิจกรรมเป็นรายบุคคล

ครั้งที่ 1 (ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด / เมื่อมารดาวัยรุ่นพร้อมและสามีมาเยี่ยม)

1. กิจกรรมส่งเสริมสัมพันธภาพและการยอมรับบุตร

  • เปิดโอกาสให้มารดาวัยรุ่นและสามี พูดคุยแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับบุตร
  • ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาวัยรุ่น สามี และบุตร โดยเรียกชื่อ
  • พูดคุย สัมผัส อุ้ม โอบกอดบุตร

2.  กิจกรรมการสอน ฝึกปฏิบัติแก่มารดาวัยรุ่นและสามี

  • สอนโดยใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยท์
  • หัวข้อ : พฤติกรรมของบุตร และการตอบสนองต่อพฤติกรรมของบุตร
             : การสร้างสัมพันธภาพกับบุตรและการดูแลบุตร
  • ฝึกปฏิบัติในการดูแลบุตรร่วมกัน

3. กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสามี

  • อธิบายประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของสามีในการช่วยเหลือดูแลบุตร
  • แนะนำให้สามีมาเยี่ยมและกระตุ้นให้สามีมีส่วนร่วมช่วยเหลือมารดาวัยรุ่นในการดูแลบุตร และชมเชย ให้กำลังใจเมื่อสามีสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง
  • วางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลบุตรในสถานการณ์จริงเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน

ครั้งที่ 2  (ภายหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมครั้งแรกอย่างน้อย 12 ชั่วโมง)
กิจกรรมการเตรียมตัวสู่บทบาทมารดาเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน

  • ฝึกปฏิบัติดูแลบุตรจนเกิดความมั่นใจ
  • สรุปคำแนะนำที่สำคัญเกี่ยวกับการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดา พร้อมทั้งแจกคู่มือสำหรับทบทวนความรู้เมื่อจำหน่ายกลับบ้าน

ครั้งที่ 3 ระยะหลังคลอดเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน
กิจกรรมโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมและให้คำแนะนำ

  • ติดตามประเมินปัญหาการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาและให้คำแนะนำแก่มารดาวัยรุ่นทุกสัปดาห์ ทั้งหมด 4 ครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

  • แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล  
  • แบบสัมภาษณ์การปรับตัวด้านบทบาทของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด        ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก (สิวาพร พานเมือง, 2545)
    สร้างขึ้นตามแนวคิดของโบเบค และเจนเซน
  • แบบบันทึกปัญหา และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาในระยะหลังคลอด

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย

1. การหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Validity)

  • นำโปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามีสื่อประกอบการสอน และแบบสัมภาษณ์ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  5 ท่าน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ-มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .88

2. การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliablity)

  • นำแบบสัมภาษณ์การปรับตัวด้านบทบาทของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างมารดาวัยรุ่นหลังคลอดจำนวน 50 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .93

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05

1.   ข้อมูลส่วนบุคคล: วิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย และทดสอบความแตกต่างคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติฟิชเชอร์
2.  คะแนนการปรับตัวต่อบทบาทของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด
: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปรับตัวต่อบทบาทของมารดาวัยรุ่นภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง  ภายหลังคลอด4 สัปดาห์โดยใช้ สถิติที (Independent t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. มารดาวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพแม่บ้าน รายได้มากกว่า 7000 พันบาทต่อเดือน ลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูทารกหรือเคยได้รับความรู้ในการเลี้ยงดูทารกมาก่อน ส่วนสามี อายุ 17 – 42 ปี ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูทารกหรือเคยได้รับความรู้ในการเลี้ยงดูทารกเช่นเดียวกับมารดาวัยรุ่น

2.

การอภิปรายผล

มารดาวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีการปรับตัวด้านบทบาทการ เป็นมารดาดีกว่ามารดาวัยรุ่นในกลุ่มควบคุม ในระยะ 4 สัปดาห์ หลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < .05) ดังนั้น โปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามี  เป็นสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมกระบวนการรับรู้ของมารดาวัยรุ่น ให้มีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

  1. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

          สามารถนำรูปแบบการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามีไปใช้ เพื่อช่วยส่งเสริมการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น    

  1. ด้านการบริหารการพยาบาล

          สามารถนำรูปแบบโปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามีไปใช้ฝึกอบรมแก่พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพ และกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับมารดาวัยรุ่นต่อไป

 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ เช่น การมีส่วนร่วมของย่า ยายและภาวะสุขภาพของทารก เป็นต้น
  2. ควรมีการศึกษาการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นในกลุ่มอื่นๆ

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้อาจารย์ที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ความสนใจ เรื่องผลการศึกษาและมีข้อเสนอแนะเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาฯต่อไป

 

 

อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ เป็นผู้ถอดบทเรียน
 

รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด
  2. รศ. ยุวดี  วัฒนานนท์
  3. รศ. นันทนา ธนาโนวรรณ
  4. ผศ. ทัศนีย์วรรณ  พฤกษาเมธานันท์
  5. ผศ. นิตยา  สินสุกใส
  6. ผศ. กันยรักษ์   เงยเจริญ
  7. ผศ. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
  8. ผศ. วาสนา จิติมา
  9. ผศ. ปิยะนันท์  ลิมเรืองรอง
  10. อ. อัจฉรา มาศมาลัย
  11. อ. พรทิพย์ คณานับ
  12. อ. ศุภาวดี วายุเหือด
  13. อ. วรรณา พาหุวัฒนกร
  14. อ. ฤดี ปุงบางกะดี่
  15. อ. รุ่งทิพย์  กาศักดิ์
  16. อ. พุทธิราภรณ์  หังสวนัส
  17. อ. กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
  18. อ. จารุพร เพชรอยู่
  19. อ. อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
  20. อ. จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
  21. อ. จีรันดา อ่อนเจริญ