โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
การจัดการความรู้ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เรื่อง "UPDATE ระบบบริการฝากครรภ์"

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง"UPDATE ระบบบริการฝากครรภ์"โดยมี อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 12.30-13.30น.ห้อง 801/1 ชั้น 8 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระบบการให้บริการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช

เปิดให้บริการคลินิกดังนี้

  • High risk clinic : Tuesday, Thursday,Friday
  • Thallasemia clinic: Monday-Friday
  • Pink star clinic(Teenage pregnancy) Tuesday,Wednesday
  • DM clinic: Monday-Friday

ได้มีการเปลี่ยนแปลงการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีผลOGTT ผิดปกติและวินิจฉัยว่าเป็นGDM ดังนี้

การให้วัคซีนdTในหญิงมีครรภ์

  • หากไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน (ไม่ว่าจะเป็น DTP/dT/TT) ให้ฉีดวัคซีน 3 เข็ม เข็มแรกเมื่อมาฝากครรภ์ นัดฉีดเข็มที่ 2 ห่างจาก เข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือนจากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
  • หากเคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 1 เข็ม (ไม่ว่าจะเป็น DTP/dT/TT) ให้ฉีดอีก 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจาก เข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน และเข็มที่ 3ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือนจากนั้น ให้กระตุ้นทุก 10 ปี
  • หากเคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม (ไม่ว่าจะเป็นDTP/dT/TT) ให้ฉีดอีก 1 เข็ม โดยมีระยะห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน จากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
  • หากเคยได้รับวัคซีนมาก่อน (ไม่ว่าจะเป็น DTP/dT/TT) อย่างน้อย 3 เข็มและเข็มสุดท้ายนานกว่า 10 ปี ให้ฉีดอีก 1 เข็ม จากนั้นให้กระตุ้นทุก 10 ปี
  • ในกรณีที่ไม่ทราบประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต ให้ฉีด dT 3 เข็ม โดยให้เข็มแรก เมื่อมาฝากครรภ์ เข็มที่ 2 ห่างจาก เข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน เข็มที่3 ห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน

ถ้าภายหลังฉีดแล้วประมาณ 4-12 ชั่วโมง เกิดปฏิกิริยา ปวด บวมนูน แดง บริเวณที่ฉีดและโดยรอบมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ โดยอาการบวมอาจลามไปถึงข้อศอก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแสดงว่าเคยได้รับวัคซีนที่มีส่วนประกอบของบาดทะยักมาแล้วและมีระดับภูมิคุ้มกันสูง ร่างกายจึงเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Arthus reaction ให้หยุดฉีดวัคซีน dT/T อย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ ต้องวินิจฉัยแยกโรคจากการอักเสบที่เกิดจากการ ติดเชื้อแบคทีเรีย (cellulitis) เนื่องจากการฉีดที่ไม่สะอาดและมีการปนเปื้อน ซึ่งมักเจ็บมากเวลาจับต้อง อาจมีไข้ร่วมด้วย ถ้าเป็นปฏิกิริยา Arthus reactionจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 วัน ส่วนใหญ่ไม่เกิน 7 วัน

อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ ผู้ถอดบทเรียน
 
รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด
2. รศ. ยุวดี วัฒนานนท์
3. รศ . นันทนา ธนาโนวรรณ
4. ผศ. ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์
5. ผศ . นิตยา สินสุกใส
6. ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ
7. ผศ. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
8. ผศ . วาสนา จิติมา
9. ผศ.จรรยา เจริญสุข
10. ผศ . ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง
11. อ . อัจฉรา มาศมาลัย
12. อ. พรทิพย์ คณานับ
13. อ.ศุภาวดี วายุเหือด
14. อ.วรรณา พาหุวัฒนกร
15. อ.ฤดี ปุงบางกะดี่
16. อ.รุ่งทิพย์ กาศักดิ์
17. อ.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส
18. อ.กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
19. อ.รุ่งนภา รู้ชอบ
20. อ.อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
21. อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
22. อ.จีรันดา อ่อนเจริญ
23. อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี