การจัดการความรู้ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เรื่อง"Virus Alert EBOLA"
คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง"Virus Alert EBOLA"โดยมี อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 เวลา 12.30-13.30น.ห้อง 801/1 ชั้น 8 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิด เฉียบพลันรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิด การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและ ทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ 60-90
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้อย่างไร
การติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสตรงกับ เลือดที่ติดเชื้อสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อ ในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยา ที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลา ในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากผู้มาร่วมพิธีศพอาจมีการสัมผัส โดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต
สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คนเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของสัตว์ป่าที่ติด เชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ตาย เช่น ลิง ค้างคาว
โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทาง ละอองฝอยที่ลอยในอากาศ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีอาการอย่างไร
โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทํางานบกพร่อง และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก และเสียชีวิต
ผู้ป่วยจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือ ยังสามารถ แพร่เชื้อได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมี เชื้อไวรัส
ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจาก การเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2ถึง 21วัน
วัคซีนและการรักษา
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษา จำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจําเป็นต้องได้รับการดูแล รักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมี อาการขาดนํ้าบ่อยๆ จึงจําเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่ เพื่อแก้ไขอาการขาดนํ้าโดยอาจให้ทางปาก หรือทาง เส้นเลือด
อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ ผู้ถอดบทเรียน |
|
รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด |
2. รศ. ยุวดี วัฒนานนท์ |
3. ผศ. ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์ |
4. ผศ . นิตยา สินสุกใส |
5. ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ |
6. ผศ . วาสนา จิติมา |
7. ผศ. จรรยา เจริญสุข |
8. ผศ . ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง |
9. อ.ศุภาวดี วายุเหือด |
10. อ.ฤดี ปุงบางกะดี่ |
11. อ.รุ่งทิพย์ กาศักดิ์ |
12. อ.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส |
13. อ.กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล |
14. อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ |
15.อ.อรวรรณ พินิจเลิศสกุล |
16.อ.จีรันดา อ่อนเจริญ |
17.อ.รุ่งนภา รู้ชอบ |
18.อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี |
|