กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management)
ครั้งที่ 1/2563
อาจารย์ ดร.รุ่งนภา รู้ชอบ วิทยากร
อาจารย์ ดร.กุลธิดา หัตถกิจพาณิชกุล ผู้ลิขิต
ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “Maternal Weight, Placental Expression of Growth Factors, and Birth Weight” โดยอาจารย์ ดร.รุ่งนภา รู้ชอบ ในวันที่ 29 มกราคม 2563 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (บางกอกน้อย)
ความเป็นมาและความสำคัญ : ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (<2,500 กรัม) หรือมากกว่าปกติ (≥4,000 กรัม) มีกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพ เช่น มีอัตราการเสียชีวิตในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอด ปัญหาทางด้านพัฒนาการในวัยเด็ก และการเกิดโรคเบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิตสูงในวัยผู้ใหญ่ การทบทวนวรรณกรรมพบว่า ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ของมารดา และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เป็นปัจจัยที่สามารทำนายน้ำหนักทารกแรกเกิดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม กลไกทางชีววิทยาที่อธิบายความสัมพันธ์ของน้ำหนักมารดาต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั้นมีความซับซ้อนและยังไม่ชัดเจน
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของน้ำหนักของมารดา (ดัชนีมวลกายและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์) การแสดงของยีนในรก (Vascular endothelial growth factor A และ placental growth factor) และตัวแปรร่วม (อายุมารดา เชื้อชาติ น้ำหนักรวม) ต่อน้ำหนักทารกแรกเกิด
รูปแบบการวิจัย : ความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน 44 ราย ภายหลังคลอด ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างรกไปแยกวิเคราะห์ RNA และการแสดงออกของยีนโดยใช้วิธี quantitative real-time polymerase chain reaction วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis)
ผลการวิจัย : ระดับของ Placental growth factor mRNA อายุมารดา น้ำหนักรก และเชื้อชาติของมารดา เป็นปัจจัยที่ทำนายน้ำหนักทารกแรกเกิดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ดัชนีมวลกายไม่สามารถทำนายน้ำหนักทารกแรกเกิดได้ ในขณะที่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถปรับเปลี่ยนระดับการแสดงออกของยีน vascular endothelial growth factor A และทั้งสองตัวแปรมีอิทธิพลร่วมต่อการทำนายน้ำหนักทารกแรกเกิดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)
|