โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support)”

อาจารย์จิตต์ระพี บูรณะศักดิ์ อาจารย์กรกนก เกื้อสกุล และอาจารย์เสาวรส แพงทรัพย์ วิทยากร
อาจารย์จิตต์ระพี บูรณะศักดิ์ ผู้ลิขิต


ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support)” ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยมี อาจารย์จิตต์ระพี บูรณะศักดิ์ อาจารย์กรกนก เกื้อสกุล และ อาจารย์เสาวรส แพงทรัพย์ เป็นวิทยากร ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หรือ ที่เราคุ้นเคยและเรียกกันติดปากว่า การ “CPR” หรือ Cardiopulmonary resuscitation หากจะมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวก็คงไม่ใช่อีกต่อไป เนื่องจากปัจจุบันประชากรไทยมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ หัวใจ หรือหลอดเลือด ซึ่งล้วนมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น หรือ หยุดหายใจได้ทุกเมื่อ การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้มากขึ้นได้ อีกทั้งการจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็จำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานด้วยเช่นกัน ประกอบกับหลักการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ การทบทวน ฟื้นฟูความรู้พื้นฐานเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นและเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง

“เมื่อใดที่เราจะต้องตัดสินใจเริ่มต้น CPR” อาจจะเป็นคำถามที่หลายคนยังสงสัย และลังเลใจ ซึ่งความไม่แน่ใจนี้อาจส่งผลให้การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพเริ่มต้นล่าช้าออกไป ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ดังนั้นหากท่านเป็นผู้พบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ให้ท่านทำตาม 10 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ประเมินสถานการณ์หรือสภาพแวลดล้อมที่เกิดเหตุ ว่าปลอดภัยกับตัวท่านและผู้ป่วยหรือไม่ 2. ปลุกเรียกผู้ป่วย โดยตบบ่า
2 ข้าง และเรียกผู้ป่วยด้วยเสียงดังฟังชัด (หากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง แต่หากยังไม่หายใจ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไป)
3. ร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่อยู่ใกล้เคียง หรือโทรสายด่วน 1669 พร้อมกับขอเครื่อง AED ในขณะเดียวกันให้เปิดทางเดินหายใจ และประเมินชีพจรบริเวณ Carotid โดยใช้เวลา 5-10 วินาที
4. หากพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก หรือไม่มีชีพจร ให้ทำการกดหน้าอกทันที
5. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอก ด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ปล่อยให้ทรวงอกคืนกลับเต็มที่ และไม่ควรรบกวนการกดหน้าอกมากกว่า 10 วินาที กดหน้าอกต่อเนื่องจนครบ 30 ครั้ง ให้ช่วยหายใจ 2 ครั้ง จนครบ 2 นาที จึงประเมินชีพจรอีกครั้ง

ในกรณีที่มีเครื่อง AED ให้เปิดใช้เครื่อง AED โดยเร็ว เพื่อให้เครื่องวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และช็อคไฟฟ้าหากจำเป็น โดยให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED อย่างเคร่งครัดและมีสติ

จะเห็นได้ว่าการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเป็นทักษะและความรู้ที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคน หลักสำคัญของการช่วยเหลือ คือ ผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการกดหน้าอกให้มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เครื่อง AED ให้ถูกต้อง และที่สำคัญคือ ผู้ช่วยเหลือจะต้องมีสติตลอดเวลา ไมม่ตื่นเต้นตกใจจนเกินไป เพียงเท่านี้ท่านก็จะสามารถช่วยรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีก 1 ชีวิต