โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
อะไร คืองานวิชาการเพื่อสังคม Socially engaged scholarship

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง“อะไร คืองานวิชาการเพื่อสังคม Socially engaged scholarship” โดยมี อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 13.00-14.00น.ห้อง 711 ชั้น 7 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อะไร คืองานวิชาการเพื่อสังคม Socially engaged scholarship
งานวิชาการเพื่อสังคมในประเทศไทย เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน เดิมใช้คำว่า “ ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม” (University Social Responsibility: USR ) ต่อมาได้จัดเวทีเพี่อหาข้อสรุปเรื่องนิยาม จนได้นิยามของผลงานวิชาการเพื่อสังคม ว่า “ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่นที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา และปรากฏผลที่สามารถได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ”ความรู้และความเป็นธรรมทางสังคม ถือเป็นเกณฑ์สำคัญ 2 ข้อ ที่จะใช้วิเคราะห์หรือตรวจสอบได้ว่างานใดจะเป็นงานวิชาการเพื่อสังคมหรือไม่ เพราะความรู้เพียงอย่างเดียวอาจจะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ผิดๆ ได้ จึงต้องใช้ผลที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมมาตรวจสอบด้วย

งานวิชาการเพื่อสังคม หากแยกอธิบายแต่ละคำก็คือ
การจัดการ ความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

“Social” ครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ในสังคม เช่น ชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ผู้ประกอบการขนาดเล็ก/กลาง ธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบต่อสังคม องค์กรภาครัฐ  องค์กรไม่แสวงหากำไรต่างๆ
“Engage” หมายความถึงความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับกลุ่มต่างๆ เหล่านี้  โดยตระหนักว่า มหาวิทยาลัยไม่ควรอยู่อย่างโดดเดี่ยวในโลกของตนเอง  แต่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ร่วมกับชุมชนภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้ชุมชนได้ประโยชน์จากมหาวิทยาลัย และเพื่อการเรียนรู้และความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยเอง
“Scholarship”  หมายถึง “ความเป็นวิชาการ” ซึ่งจะรวมภารกิจหลักทั้ง 3 ด้านของมหาวิทยาลัย ได้แก่ งานวิจัย งานบริการวิชาการ และการเรียนการสอน 

ความเป็นวิชาการ ในงานวิชาการเพื่อสังคมนั้น สามารถผสมผสานกับงานบริการวิชาการ งานการเรียนการสอน งานฝึกอบรมหรืองานอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยทำได้ เน้นผลที่เกิดขึ้นมากกว่าจะตอบปัญหาการวิจัยเพียงอย่างเดียว งานวิชาการเพื่อสังคมจึงมีลักษณะใหม่ 2 ประการดังนี้
ประการแรก – งานวิชาการเพื่อสังคมหมายรวมถึง ภารกิจทั้ง 3ด้าน ของมหาวิทยาลัยคือ วิจัย บริการวิชาการและการเรียนการสอน
ประการที่สอง – งานวิชาการเพื่อสังคมมีสองส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ

  • ต้นน้ำ คือโจทย์ต้องมาจากสังคม
  • ปลายน้ำ คือทำงานเสร็จแล้วได้ประโยชน์อย่างไรกับใคร ส่วนนี้เป็นจุดที่แตกต่างจากการวิชาการที่มุ่งตอบปัญหาในวงวิชาการเท่านั้นแต่ไม่สามารถตอบปัญหาของชุมชนใกล้ๆ มหาวิทยาลัยได้

ส่วนปัญหาของงานบริการวิชาการคือ เป็นงานที่ถ่ายทอดความรู้เพียงอย่างเดียวและมักเป็นความรู้เดิมๆ ไม่มีการต่อยอดความรู้ใหม่ และไม่ได้สนใจว่าผู้รับจะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ อีกทั้งไม่ได้เกิดความรู้เข้าสู่วงการวิชาการที่ผู้อื่นจะต่อยอดได้


วิชาการเพื่อสังคมต่างจากวิชาการเพื่อวิชาการอย่างไร

ประเด็น

วิชาการเพื่อสังคม

วิชาการเพื่อวิชาการ

ธรรมชาติของงาน

สหสาขาวิชาการ

วิชาการเชิงเดี่ยว

โจทย์คำถาม

เชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง

ความใหม่ของโจทย์

กระบวนการ

  • เปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขและบริบท
  • ผู้ใช้มีส่วนร่วม
  • เวลาและค่าใช้จ่ายเหมาะสม

วิธีการถูกต้องตามแบบแผน

ผลผลิตที่คาดหวัง

  • ปัญหาถูกคลี่คลาย
  • เผยแพร่ต่อยอดสู่การแก้ปัญหาอื่น
  • เผยแพร่ในวงวิชาการ
  • ตีพิมพ์วารสารนานาชาติ
  • ถูกอ้างอิงโดยนักวิชาการอื่น

ผลกระทบ

มีคำตอบใหม่ๆ จากสาชาวิชาใหม่ๆ

มีความก้าวหน้าในสาขาวิชาเดิม

ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการวิชาการ ควรยอมรับแต่ต้นว่า งานวิชาการเพื่อสังคม มีปรัชญา เป้าหมาย วิธีการและคุณภาพของงานที่คาดหวังแตกต่างโดยสิ้นเชิงจาก งานวิชาการเพื่อวิชาการ และไม่ควรนำสองอย่างนี้มาปนกันหรือตัดสินคุณภาพของงานอย่างหนึ่งด้วยเกณฑ์ของงานอีกอย่างหนึ่ง