การวิจัยทางการศึกษา
โดย รศ.ดร.ยุวดี วัฒนานนท์
คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การวิจัยทางการศึกษา" โดยมี รศ.ดร.ยุวดี วัฒนานนท์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 โดยมีสาระดังนี้
การวิจัยทางการศึกษา คือ ระเบียบวิธีการจัดการสืบค้นข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาคำตอบของปัญหาวิจัย เกี่ยวกับตัวแปรทางการศึกษา และผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการจัดการการศึกษา
ประเภทของการวิจัย
1. จำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย
1.1 การวิจัยเชิงพรรณนา ( Descriptive research )
1.2 การวิจัยเชิงอธิบาย ( Explanatory research )
2. จำแนกตามลักษณะของข้อมูล
2.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research)
2.2 การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research)
รูปแบบการวิจัยทางการศึกษา ที่พบบ่อย
1. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) ศึกษาข้อเท็จจริง โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกรณี
2. การศึกษาแบบสำรวจ ( Survey Design )เป็นการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูล และใช้ข้อมูลในปัจจุบันนั้นมาตีความหมายอธิบายสภาพการณ์ต่าง ๆ
3. การศึกษาเชิงทดลอง ( Experimental Design )การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรสาเหตุ กับตัวแปรของผลที่เกิดขึ้น
4. การศึกษาแบบกึ่งทดลอง ( Quasi - Experimental Design) เป็นการวิจัยที่คล้ายกันกับการศึกษาเชิงทดลอง มีความต่างกันที่เป็นการศึกษาโดยไม่มีกลุ่มควบคุม หรือศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่มีการออกแบบการศึกษา ที่แก้ไขความคลาดเคลื่อนไว้ก่อน
ขั้นตอนในการวิจัยทางการศึกษา
1. การเลือกปัญหาการวิจัยที่มีผลกระทบ/สนใจ
2. การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษา
3. การเลือกรูปแบบวิธีวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล
5. การเขียนรายงานผลการวิจัย
นโยบายในการทำวิจัยทางการศึกษาของคณะฯ
มีนโยบายใช้ CIPP Model เป็นหลักในการทำวิจัยทางการศึกษา เนื่องจากในการประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบันนั้น องค์กรที่มาประเมินสถาบัน เช่น สกอ. หรืออื่น ๆ ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มาจากผลการวิจัยมากที่สุด ที่มาของ CIPP Model
สตัฟเฟิลบีม ( ค.ศ.1971) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฏีการประเมินทางการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน เรียกว่า CIPP Model
C = context = บริบทของการเรียนการสอน ได้แก่วิสัยทัศน์ของสถาบัน นโยบายในการผลิตบัณฑิต คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สภาพห้องเรียน ฯลฯ
I = input = ปัจจัยที่ใส่เข้าไปในการเรียนการสอน ได้แก่หลักสูตร เนื้อหาของวิชาที่ใช้สอน สื่อการสอนต่าง ๆ ฯลฯ
P = process = กระบวนจัดการเรียนการสอน ได้แก่ เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ การออกแบบการสอน ฯลฯ
P = product = output / outcome = ผลที่เกิดจากการเรียนการสอน หรือผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง ได้แก่ ผลการสอบรวบยอด ผลการสอบขอรับใบอนุญาตจากสภาการพยาบาล ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ฯลฯ
รายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รศ. ศิริวรรณ สันทัด |
รศ. ยุวดี วัฒนานนท์ |
ผศ. จรรยา เจริญสุช |
ผศ. ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์ |
ผศ. นิตยา สินสุกใส |
ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ |
ผศ. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ |
ผศ . วาสนา จิติมา |
ผศ . ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง |
อ. อัจฉรา มาศมาลัย |
อ. พรทิพย์ คณานับ |
อ. ศุภาวดี วายุเหือด |
อ. วรรณา พาหุวัฒนกร |
อ. จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ |
อ. รุ่งทิพย์ กาศักดิ์ |
อ. พุทธิราภรณ์ หังสวนัส |
อ. นัยนา แขดกิ่ง |
อ. รุ่งนภา รู้ชอบ |
อ. นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี |
อ. จีรันดา อ่อนเจริญ |
|