การจัดการความรู้
Update family care in Sweden
คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง Update family care in Sweden โดยมี อาจารย์ ดร.พรทิพย์ คณานับ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2554 ณ ห้อง 801/1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่ง อาจารย์พรทิพย์ คณานับ ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานได้ไปเยี่ยมชม ณ Malardalen University ซึ่งประกอบด้วย 4 schools ได้แก่ School of education, culture and communication ,School of innovation, design and engineering ,School of health, care, and social welfare และ School of sustainable development of social and technology
การจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล อยู่ภายใต้การดูแลของ School of Health, Care, and Social Welfare หลักสูตรปริญญาตรีมีนักศึกษา ประมาณ 360 คน/ ปี หลักสูตรการศึกษา 3 ปี จำนวน 180 เครดิต ประกอบด้วย caring science 90 cr. Medical science 57 cr. Health care education 22.5 cr. และ public health science 10.5 cr. สำหรับหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตร 1 ปี 60 cr. มี 7 หลักสูตร การสอบนักศึกษาจะมีผลการศึกษาเป็น Pass with distinction (VG) Pass (G) Fail (U)
การจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านความสามารถในการประเมิน และการใช้ทักษะคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ ความสามารถในการรับรู้ข้อมูล การตั้งปัญหาหรือข้อวินิจฉัย และการแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระ การเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตการทำงาน ในด้านการศึกษา นอกจากความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานแล้ว นักศึกษาจะต้องพัฒนาความสามารถในด้าน การค้นคว้าหาความรู้และการประเมินความรู้ในระดับผู้มีความรู้ หรือผู้ไดัรับการศึกษา (scholarly level) การติดตามการพัฒนาความรู้ใหม่ๆในด้านต่างๆ การแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น ทั้งผู้มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ในสาขานั้นๆ การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล เป็นความร่วมมือระหว่าง Malardalen university และ County council of Vastmanland ซึ่งกำกับดูแลโรงพยาบาลต่างๆ ได้แก่ Sala, Fagersta, Vasteras และ Koping รวมถึง primary health care และ Psychiatric care เป็นความร่วมมือในเรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยมีข้อตกลงในเรื่องการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในคลินิก การส่งเสริมทัศนคติในการปฏิบัติงาน การวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกปฏิบัติ และการประเมินผล การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาระงานสำหรับพยาบาล สำหรับพยาบาลที่เลือกไม่รับผิดชอบงานสอน จะต้องรับผิดชอบงานบริการมากขึ้น
บุคคลากรด้านการเรียนการสอนบนคลินิกประกอบด้วย Clinical supervisor , Preceptor และ Clinical lecture โดย Clinical supervisor เป็นผู้ประสานงานการจัดการเรียนการสอนระหว่าง Malardalen University และ County councils ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้ควรเป็นผู้ที่มีความรู้และความคุ้นเคยกับ Supervision model หลักสูตรและเนื้อหาในการเรียน รวมทั้งแผนการเรียนการสอนของนักศึกษา (study guides) ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ในปัจจุบันคือ Ms. Monica Dahlgren เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ ผู้ประสานงาน Ms.Monica จะได้รับเงินเดือน 50% จากมหาวิทยาลัย และอีก 50% จาก County councils
Preceptor เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในคลินิก ซึ่งผ่านการฝึกอบรมให้เข้าใจถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล
Clinical lecture เป็นบุคลากรจากมหาวิทยาลัย ซึ่งจะทำงานร่วมกับ clinical supervisor และ preceptors ในการจัดการเรียนการสอน และร่วมประเมินผลการเรียนการสอนของนักศึกษา
การเรียนการสอนในคลินิก ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Organization-Clinical Practice Model หรือ Supervision Model โดยใช้ Patient Focus Model เป็นหลักในการเรียนสอนและการดูแลผู้ป่วย โดยมีแนวคิดว่า Patient Focus Model ช่วยบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเริ่มจากการนำความรู้ภาคทฤษฎีที่นักศึกษาได้เรียนมาได้แก่ ความรู้ด้าน Caring science ด้านการแพทย์ และความรู้ด้านอื่นๆที่เกี่ยวกับการพยาบาล มาใช้ในการให้การดูแลผู้ป่วย การเรียนการสอนคำนึงถึง Patient rights และการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย (nurse-patient relationship) การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ทางคลินิก เกิดจากการที่นักศึกษาได้พบและให้การดูแลผู้ป่วย นักศึกษาจะสลับบทบาทระหว่าง การลงมือกระทำ หรือการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย (action) และการสะท้อนหรือถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมา(reflection) โดย preceptors จะกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ (critical thinking) ทั้งพยาบาล นักศึกษา และผู้ป่วยจะร่วมกันวิเคราะห์เพื่อค้นหาและเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย แหล่งประโยชน์ (health resource) และความต้องการการดูแลที่เร่งด่วน นักศึกษาจะต้องรายงานและประเมินผลกับ Preceptor ทุกวัน นักศึกษาจะอยู่ภายใต้การดูแลของ Preceptor โดย Preceptor 1 คน จะมีนักศึกษาอยู่ในความดูแล 1-2 คน preceptor จะมอบหมายให้นักศึกษาดูแลผู้ป่วยเป็นรายกรณี นักศึกษา 1 คนจะให้การดูผู้ป่วย 1-2 คน นักศึกษาจะมีสมุดบันทึกประจำตัว (Student Journal or Portfolio) ซึ่งเมื่อเริ่มต้นการศึกษา นักศึกษาจะบันทึกเป้าหมายในการเรียนของตน และทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น นักศึกษาจะบันทึกประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ตนเองได้รับในแต่ละวัน Preceptor จะอ่านบันทึกของนักศึกษาแล้วให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาจะมีการพูดคุยปรึกษาหารือ (reflection) ร่วมกับ Head supervisor สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ Head supervisor จะประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา 2 ครั้งคือ Midterm และ Final โดยใช้เกณฑ์การประเมินของมหาวิทยาลัย
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้อาจารญืที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ความสนใจ และมีข้อเสนอแนะเพื่อการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาฯต่อไป
ผศ.ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์ และ ผศ.กันยรักษ์ เงยเจริญ
ผู้บันทึก
รายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม
- ผศ.ดร.เยาวลักษณ์ เสรีสถียร
- รศ.ดร.ยุวดี วัฒนานนท์
- รศ.ศิริวรรณ์ สันทัด
- รศ.สุคนธ์ ไข่แก้ว
- รศ.สุนีย์ สุนทรมีเสถียร
- ผศ.ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์
- ผศ.ดร.ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
- ผศ.ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง
- ผศ.ดร.นิตยา สินสุกใส
- ผศ.วาสนา จิติมา
- ผศ.กันยรักษ์ เงยเจริญ
- อ.ดร.อัจฉรา มาศมาลัย
- อ.ดร.พรทิพย์ คณานับ
- อ.ดร.ฤดี ปุงบางกระดี่
- อ.ดร.ศุภาวดี วายุเหือด
- อ.ดร.วรรณา พาหุวัฒนกร
- อ.พรนภา ตั้งสุขสันต์
- อ.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส
- อ.รุ่งทิพย์ กาศักดิ์
|