หลักสูตร
 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย      : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ

ภาษาอังกฤษ  : Program of Nursing Specialty in Trauma Nursing

ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย      : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ      
         
ภาษาอังกฤษ  : Certificate of Nursing Specialty in Trauma Nursing
ชื่อย่อ      : ป.การพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด

วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาลให้มีความรู้ความสามารถระดับสูง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนของผู้ป่วยอุบัติเหตุทุกระยะของการบาดเจ็บ ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ ระยะฉุกเฉิน ระยะวิกฤต และ หลังวิกฤติ และระยะฟื้นฟูสภาพ

องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                 15    หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร มี ดังนี้
     ภาคทฤษฎี                                                        10    หน่วยกิต
     ภาคปฏิบัติ                                                          5    หน่วยกิต

พยคร 540          นโยบายสุขภาพกับการพยาบาล                                                         2 (2-0-4) หน่วยกิต
NSID 540          Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล กระบวนการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล

พยศศ 503          การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ                             2 (2-0-4) หน่วยกิต
NSSU 503          Advanced Health Assessment in Trauma Patients

คำอธิบายรายวิชา

             การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยบาดเจ็บ การตรวจร่างกายเบื้องต้นผู้บาดเจ็บในระยะ การตรวจร่างกาย ผู้บาดเจ็บทุกระยะ การตรวจพิเศษสำหรับการบาดเจ็บทุกระบบที่เป็นผลจากการได้รับอุบัติเหตุ การประเมินสภาพ อารมณ์และจิตสังคม การใช้เครื่องมือและมาตรวัดพิเศษในการประเมินการบาดเจ็บ การตรวจพิเศษ การวิเคราะห์ ผลทางห้องปฏิบัติการ การบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บ   

พยสส 501          การพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ 1                                                            3 (3-0-6) หน่วยกิต        
NSSU  501         Trauma Nursing I

คำอธิบายรายวิชา

          ระบาดวิทยาของการเกิดอุบัติเหตุในประชากรไทย และแนวทางป้องกันควบคุมการเกิดอุบัติเหตุ ปฏิกิริยาตอบสนองทางชีวภาพ และจิตสังคมในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ หลักการพยาบาลตามระยะต่าง ๆ ของ การบาดเจ็บ การช่วยเหลือในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล และการบำบัดในระยะฉุกเฉิน การบำบัดในระยะวิกฤต การบำบัดในระยะฟื้นฟูสภาพ เน้นการพยาบาลแบบองค์รวม การจัดหน่วยบำบัดฉุกเฉินและการร่วมมือประสาน งานกับแหล่งประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ป่วย และการบูรณาการความรู้จากการวิจัย

พยสส 502          การพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ 2                                                           2 (2-0-4) หน่วยกิต                  
NSSU 502         Trauma Nursing II

คำอธิบายรายวิชา

          ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บในระบบต่าง ๆ และปัญหาการบาดเจ็บตามระยะพัฒนาการของชีวิต ทั้งด้านกาย จิตสังคม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณ การวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยตามหลักฐานทางคลินิก และตาม แนวคิดทฤษฎีและผลการวิจัย หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บในระบบต่าง ๆ และปัญหาการบาดเจ็บ ตรม ระยะพัฒนาการ ตั้งแต่ระยะฉุกเฉิน ระยะวิกฤต รวมทั้งระยะการศึกษาสภาพ โดยเน้นการพยาบาลแบบ องค์รวม

พยศศ 581          ปฏิบัติการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ 1                                                   3 (0-12-3) หน่วยกิต
NSSU 581          Trauma Nursing Practicum I

คำอธิบายรายวิชา

          ฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล และการใช้เครื่องมือพิเศษทางการรักษา เพื่อ ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุตามระยะต่าง ๆ ของการบาดเจ็บ ทั้งในระยะฉุกเฉินและวิกฤต รวมทั้งศึกษาการ บริหารงานในหน่วยอุบัติเหตุ ทั้งในภาวะปกติและสาธารณภัย

พยศศ 582          ปฏิบัติการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ 2                                                   2 (0-8-0) หน่วยกิต
NSSU 582         Trauma Nursing Practicum II

คำอธิบายรายวิชา

         ฝึกปฏิบัติการพยาบาลป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน โดยการวิเคราะห์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน และการวางแนวทางในการควบคุมการเกิดอุบัติเหตุตามกลุ่มประชากรต่าง ๆ ที่เป็นระบบขั้นตอนตามรูปแบบ การเฝ้าระวังอุบัติเหตุในชุมชน ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุในระยะการฟื้นฟูสภาพตามปัญหาที่เลือก สรร นำผลการวิจัยและหลักฐานทางคลินิกมาใช้ในการบำบัดทางการพยาบาลในระยะฟื้นฟูสภาพ

ระยะเวลาการศึกษา กำหนดระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน (16 สัปดาห์)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

  1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
  2. ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชา และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของ หน่วยงานนั้น ๆ เต็มเวลา

คุณสมบัติเฉพาะ

  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
  3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
 
 
 

   

 

 

 

 

2 Phrannok Road, Bangkok 10700, THAILAND Tel: (662)-419-7466-80 Fax: (662)-412-8415 Copyright © 2013 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.