หลักสูตร
 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง  สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม

(Program of Nursing Specialty in Perioperative Nursing)

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม

(Certificate of Nursing Specialty in Perioperative Nursing)
ชื่อย่อ: ป. การพยาบาลปริศัลยกรรม

วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด และการตรวจพิเศษด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีปัญหาซับซ้อนในการดูแลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพในทุกระยะของการผ่าตัด สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ประสานงาน ปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร               15           หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ภาคทฤษฎี                                           10           หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ                                             5           หน่วยกิต

พยคร 540          นโยบายสุขภาพและการพยาบาล                                   2(2-0-4)   หน่วยกิต
NSID 540           Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล กระบวนการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล

พยศศ 506          การประเมินภาวะสุขภาพ                                              2 (1-2-3) หน่วยกิต
NSSU 506          Health Assessment

คำอธิบายรายวิชา

             การประเมินภาวะสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วิญญาณ ความสามารถในการทำหน้าที่ และการเรียนรู้ การซักประวัติ การประเมินภาวะสุขภาพและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการใช้เครื่องมือตรวจพิเศษที่จำเป็น การแปลผล เพื่อการตัดสินทางคลินิก การบันทึกผลการประเมินภาวะสุขภาพ

พยศศ 507          วิชาการพยาบาลปริศัลยกรรม 1                                   3(3-0-6) หน่วยกิต
NSSU 507          Perioperative Nursing 1

คำอธิบายรายวิชา

          มโนทัศน์การพยาบาลปริศัลยกรรม การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในห้องผ่าตัด ความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยงในห้องผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึก การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบองค์รวมและต่อเนื่องในทุกระยะของการผ่าตัดโดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลพิเศษ การพยาบาลผู้ป่วยนอกที่รับการผ่าตัด การช่วยฟื้นชีวิตขั้นสูง และการบริหารจัดการในห้องผ่าตัด

พยศศ 508          การพยาบาลปริศัลยกรรม 2                                        3(3-0-6) หน่วยกิต
NSSU 508          Perioperative Nursing II

คำอธิบายรายวิชา

          ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด แบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกและครอบครัว โดยใช้กระบวนการพยาบาลที่ครอบคลุมระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ที่เน้นผู้ป่วย เป็นศูนย์กลาง คำนึงสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด การทำงานเป็นทีม การ บริหารจัดการบริการพยาบาลในห้องผ่าตัด

พยศศ 585          ปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม I                                3 (0-12-3) หน่วยกิต
NSSU 585          Perioperative Nursing Practicum I

คำอธิบายรายวิชา

         ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด แบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกและครอบครัว โดยใช้กระบวนการพยาบาลที่ครอบคลุมระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ที่เน้นผู้ป่วย เป็นศูนย์กลาง คำนึงสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด การทำงานเป็นทีม การ บริหารจัดการบริการพยาบาลในห้องผ่าตัด

พยศศ 586          ปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม 2                               2 (0-8-2) หน่วยกิต
NSSU 586          Perioperative Nursing Practicum II

คำอธิบายรายวิชา

             ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดที่มีปัญหาซับซ้อนและใช้นวัตกรรมทางศัลยกรรมในหน่วยผ่าตัดที่เลือกสรร และการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การดูแลต่อเนื่อง กระบวนการ พยาบาลแบบองค์รวมในทุกระยะของการผ่าตัด การดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในนวัตกรรมทางศัลยกรรม การวางแผนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม

ระยะเวลาการศึกษา  กำหนดระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน (16 สัปดาห์)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

  1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
  2. ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้นและได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ เต็มเวลา

คุณสมบัติเฉพาะ

  1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น 1 จากสภาการพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
  3. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
 

   

 

 

 

 

2 Phrannok Road, Bangkok 10700, THAILAND Tel: (662)-419-7466-80 Fax: (662)-412-8415 Copyright © 2013 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.