คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด
ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Cardiovascular Nursing
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด
ภาษาอังกฤษ : Certificate of Nursing Specialty in Cardiovascular Nursing
ชื่อย่อ : ป.การพยาบาลหัวใจและหลอดเลือด
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพให้มีสมรรถนะของการพยาบาลทางคลินิกที่มีความเชี่ยวชาญทาง การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบองค์รวม สามารถประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงในผู้ป่วยหัวใจ หลอดเลือด ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อยู่ในระยะฉุกเฉิน วิกฤต ฟื้นตัวและเรื้อรัง บนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์ของศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มุ่งเน้นการ ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการมีส่วนร่วมของครอบครัว วิเคราะห์สถานการณ์ คุณภาพ และผลลัพธ์การจัดการในการป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ การควบคุมอาหาร และการป้องกันการกลับเป็น ซ้ำของโรคหัวใจหลอดเลือด พัฒนาการจัดระบบข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ประสาน ความร่วมมือเบื้องต้นในทีมการดูแลร่วมกับสหวิชาชีพอื่น
องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 15 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร มี ดังนี้
ภาคทฤษฎี 10 หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ 5 หน่วยกิต
พยคร 540 นโยบายสุขภาพกับการพยาบาล 2 (2-0-4) หน่วยกิต
NSID 540 Health Policy and Nursing |
คำอธิบายรายวิชา
ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล กระบวนการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล
พยคร 539 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิก 2 (1-2-4)หน่วยกิต
NSID 539 Advanced Health Assessments and Clinical Judgment |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดและความสำคัญของการประเมินสุขภาพขั้นสูง การประเมินภาวะสุขภาพแบบองค์รวม การซัก ประวัติและการตรวจร่างกายตามระบบและแบบบูรณาการเพื่อการประเมินแยกโรค และประเมินภาวะสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด การประเมินภาวะจิตใจ อารมณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่และวิถี ชีวิต การตรวจพิเศษ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตัดสินทางคลินิก และการบันทึกข้อมูลทางการพยาบาล ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
พยคร 537 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะฉุกเฉินและวิกฤต 4 (4-0-8) หน่วยกิต
NSID 537 Nursing Care for Patients with Emergency and Critical Cardiovascular Illness
|
คำอธิบายรายวิชา
ระบาดวิทยาและแนวโน้มปัญหาการเจ็บป่วยซับซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด พยาธิสรีรวิทยา โรคหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียน ความซับซ้อนทางพยาธิสรีระของโรคร่วม การวินิจฉัย การรักษาและ บทบาทพยาบาลในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดทางอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ ในระยะ ฉุกเฉิน วิกฤต และฟื้นตัวบนหลักฐานเชิงประจักษ์ สอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
พยคร 538 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเรื้อรัง 2 (2-0-4) หน่วยกิต
NSID 538 Nursing Care for Patients with Chronic Cardiovascular Illness |
คำอธิบายรายวิชา
สถานการณ์ของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเรื้อรัง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลโรคเรื้อรัง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดของการจัดการและการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพและการคงไว้ซึ่ง สุขภาพ การจัดการทรัพยากรสำหรับการดูแลต่อเนื่อง การจัดการการดูแลที่มีประสิทธิภาพโดยใช้หลักฐานเชิง ประจักษ์ และการจัดการผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเรื้อรัง
พยคร 597 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะฉุกเฉินและวิกฤต 3 (0-12-6) หน่วยกิต
NSID 597 Nursing Practicum for Patients with Emergency and Critical Cardiovascular Illness |
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อยู่ในระยะฉุกเฉินและวิกฤต โดยประยุกต์ความรู้ ทางทฤษฎีในการคัดกรอง การตัดสินใจทางคลินิก การปฏิบัติการเพื่อการกู้ชีวิตขั้นสูง การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และ การนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาใช้ในการพยาบาลให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
พยคร 598 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเรื้อรัง 2 (0-8-4) หน่วยกิต
NSID 598 Nursing Practicum for Patients with Chronic Cardiovascular Illness |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเรื้อรัง โดยการใช้ความรู้ ทางทฤษฎีมาประยุกต์ในการประเมิน วิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา วางแผน และการให้การพยาบาล โดยเน้นการ ดูแลต่อเนื่องและการจัดการทรัพยากร การจัดการผลลัพธ์บนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์
ระยะเวลาการศึกษา กำหนดระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน (16 สัปดาห์)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
-
เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
- ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชา และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของ หน่วยงานนั้น ๆ เต็มเวลา
คุณสมบัติเฉพาะ
- เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
- เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
|