คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Patients with Chronic Illness
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง
ภาษาอังกฤษ : Certificate of Nursing Specialty Patients with Chronic Illness
วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าศึกษาอบรมให้มีสมรรถนะของพยาบาลทางคลินิก ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและมีทักษะในการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนแบบองค์รวม สามารถปฏิบัติการพยาบาลที่มีการจัดการโรค และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลโดยมุ่งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การฟื้นฟูสภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครอบครัว และผู้ดูแล มีการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ สร้างนวัตกรรมทางการพยาบาลและประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งแหล่งประโยชน์ที่มีอยู่มาใช้อย่างเหมาะสม สามารถประสานงานกับบุคคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 15 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร มี ดังนี้
ภาคทฤษฎี 10 หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ 5 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
วิชาแกน 1 รายวิชา (2 หน่วยกิต)
พยคร 540 วิชานโยบายสุขภาพกับการพยาบาล 2 (2-0-4) หน่วยกิต
NSID 540 Health Policy and Nursing |
คำอธิบายรายวิชา
ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล กระบวนการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล
พยอย 546 การประเมินภาวะสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรัง 2 (1-2-4) หน่วยกิต
NSMN 546 Health Assessment in Patients with Chronic Illness |
คำอธิบายรายวิชา
แนวคิด หลักการ และกระบวนการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ การซักประวัติ การตรวจร่างกายอย่างละเอียด การประเมินภาวะจิตสังคมและจิตวิญญาณ การใช้เครื่องมือพิเศษในการประเมินสุขภาพ การตรวจพิเศษ การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแปลผลความผิดปกติ การวิเคราะห์และวินิจฉัยความผิดปกติจากการประเมินสุขภาพแบบองค์รวมของบุคคล การบันทึกผลและการเขียนรายงานการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ใหญ่ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
พยอย 504 วิชาการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ๑ 3 (3-0-6) หน่วยกิต
NSMN 504 Nursing Care of Patients with Chronic Illness I |
คำอธิบายรายวิชา
มโนมติและทฤษฏีในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ระบาดวิทยา สถานการณ์ และผลกระทบของการเจ็บป่วยเรื้อรังต่อผู้ป่วยครอบครัว และระบบบริการสาธารณสุข การประยุกต์วิทยาการก้าวหน้า หลักฐานเชิงประจักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง การป้องกันการเจ็บป่วย การฟื้นฟูสภาพ การสอนและการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดี
พยอย 505 วิชาการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ๒ 3 (3-0-6)หน่วยกิต
NSMN 505 Nursing Care of Patients with Chronic IIIness II |
คำอธิบายรายวิชา
การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ที่พบบ่อยและมีความซับซ้อน ครอบคลุมถึงพยาธิสรีรภาพ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมโดยมีการประยุกต์ใช้ทฤษฏีทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์และวิทยาการที่ทันสมัย
พยอย 583 วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ๑ 2 (0-8-4) หน่วยกิต
NSMD 583 Nursing Care of Patients with Chronic IIIness Practicum I |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง โดยประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎี / งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ มาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความหมายของข้อมูล วินิจฉัยปัญหา วางแผนและให้การพยาบาลแบบองค์รวม ประเมินผลการดูแลผู้ป่วย โดยเลือกใช้เครื่องมือวัดผลลัพธ์คุณภาพทางการพยาบาล นำผลการวิเคราะห์ผลลัพธ์มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และให้การปรึกษาข้อมูลด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย ครอบครัวและผู้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปรับตัว ดำรงชีวิตอยู่กับสภาพการเจ็บป่วยเรื้อรังได้อย่างมีความสุข
พยอย 584 วิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง ๒ 3 (0-12-6) หน่วยกิต
NSMN 584 Nursing Care of Patients with Chronic Illness Practicum II |
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้ป่วยเรื้อรังที่เลือกสรร โดยให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เน้นการวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และการประสานงานการดูแลกับสหสาขาวิชาชีพ
ระยะเวลาการศึกษา (16 สัปดาห์)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป
-
เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
-
ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ เต็มเวลา
คุณสมบัติเฉพาะ
- เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
- เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
- ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก
|