หลักสูตร
 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป(การรักษาโรคเบื้องต้น)

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป   (การรักษาโรคเบื้องต้น)

Program  of  Nursing  Specialty  in  Nurse  Practitioner    (Primary  Medical  Care)
หลักสูตรใหม่ ปี พ.ศ. 2550

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม : 
ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง
สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
Certificate of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)
ชื่อย่อ  :  ป.การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
          :  Cert.  in Nurse  Practitioner

หลักการและเหตุผล

เมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุ  อวัยวะของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ทำให้สมรรถภาพการ
ทำงานของร่างกายลดลง หากยังปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ คงเดิม ย่อมเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิต รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เนื่องจากมีจำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ถึง 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร และพบว่าการเพิ่มของประชากรสูงอายุปีละประมาณ 5 แสนคน จึงคาดว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัว และเป็นโรคเรื้อรัง ตั้งแต่ 1-6 โรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง  ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง กระดูกพรุน  เบาหวาน ฯลฯ ซึ่งหากได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้อาการของโรคทวีความรุนแรงมากขึ้น มีผลให้ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง รวมทั้งมีภาวะพึ่งพามากขึ้น มีอัตราการครองเตียงนานขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การแพทย์และสาธารณสุข ผลคือค่าใช้จ่ายของประเทศชาติจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญของผู้สูงอายุ จึงเห็นควรจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ  เพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสร้างเครือข่ายให้กับพยาบาลในด้านการให้คำปรึกษาสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค   การคัดกรองปัญหาสุขภาพ การชะลอความเสื่อม การฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย เพื่อให้การพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนตอบสนองความต้องการของสังคม


วัตถุประสงค์ทั่วไป

เพื่อพัฒนาบุคลากรพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจในการพยาบาลผู้สูงอายุทั้งในภาวะปกติและ เจ็บป่วย สามารถประเมิน คัดกรองปัญหาสุขภาพ ตัดสินทางคลินิก ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่ผู้สูงอายุด้วยเจตคติที่ดีโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ จัดระบบการดูแล และประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านการพยาบาลผู้สูงอายุในทีมสุขภาพได้

วัตถุประสงค์เฉพาะ
ภายหลังสำเร็จการศึกษาผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถ

  1. อธิบายสถานการณ์ แนวโน้มเกี่ยวกับผู้สูงอายุ มโนมติในการพยาบาลผู้สูงอายุที่ปกติ และเจ็บป่วยได้
  2. วิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุได้
  3. ประเมิน คัดกรอง และวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพจากความสูงอายุ กลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ (Common Geriatric Syndrome)
  4. ตัดสินทางคลินิกจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้
  5. วิเคราะห์และมีทักษะในการพยาบาลผู้สูงอายุทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วยซับซ้อน ในระยะเฉียบพลัน เรื้อรัง การฟื้นฟูสภาพ การพยาบาลระยะยาว และการพยาบาลระยะสุดท้ายด้วยเจตคติที่ดี รวมทั้งดูแลต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ครอบครัวและชุมชน โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ได้ทางคลินิกจากพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้
  6. วิเคราะห์และจัดระบบการดูแลและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลได้
  7. ให้คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ครอบครัวและทีมสุขภาพ
  8. วิเคราะห์ประเด็นจริยธรรม และแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุได้
  9. ประสานความร่วมมือกับบุคลากรในวิชาชีพอื่นๆ และผู้ดูแลผู้สูงอายุได้

โครงสร้างหลักสูตร 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                         

15

หน่วยกิต

ภาคทฤษฎี

10

หน่วยกิต

 

ภาคปฏิบัติ

 5

หน่วยกิต

 


พยคร 540          วิชานโยบายสุขภาพ   และการพยาบาล                              2 (2-0-4) หน่วยกิต              
NSID 540          Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             การปฏิรูประบบสุขภาพ  ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบการพยาบาล  บทบาทพยาบาลในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ  การพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์  แนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การส่งเสริมสุขภาพ  ความเครียด และการปรับตัว  กลวิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจของครอบครัว  พฤติกรรมการดูแลตนเอง  การให้คำปรึกษา การสอน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพ

พยคร 545          การจัดการบริการปฐมภูมิ                                                 2 (2-0-4) หน่วยกิต           
NSID 545          Primary Care Services Management

คำอธิบายรายวิชา

             รูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน  กระบวนการจัดบริการปฐมภูมิ  การใช้ครอบครัว และชุมชนเป็นฐานในการดูแลสุขภาพ   มาตรฐานการบริการและการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ
             Community oriented primary care model, process of primary care services, home based care and community based care; standard of care and continuous quality improvement of primary care unit.

พยคร 546          การประเมินภาวะสุขภาพ                                                 2 (1-2-3) หน่วยกิต
NSID 546          Health Assessment

คำอธิบายรายวิชา

          กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ การสร้างสัมพันธภาพของพยาบาลกับผู้รับบริการการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการแปลผล การใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการบันทึกผลการประเมินภาวะสุขภาพ

พยคร 547          การรักษาโรคเบื้องต้น                                                     4 (4-0-8) หน่วยกิต
NSID 547          Primary Medical Care

คำอธิบายรายวิชา

          การจัดกลุ่มโรคและอาการที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในระดับปฐมภูมิพยาธิสรีระวิทยาของอาการและอาการแสดง การคิดอย่างมีเหตุผลทางคลินิก  การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษาและดำเนินการตามแผนการรักษา การใช้ยาและกลไกการออกฤทธิ์ของยา  การตรวจคัดกรองและการให้ภูมิคุ้มกันโรค   

พยคร 548          การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน                                          2 (2-0-4) หน่วยกิต        
NSID 548          Accident and Emergency Care

คำอธิบายรายวิชา

          ระบบการจัดการในภาวะอุบัติเหตุฉุกเฉิน หลักการช่วยเหลือเบื้องต้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลและการทำหัตถการ  การจัดการอุบัติภัยสาธารณะ การปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพ    บทบาทพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน

พยคร 581          ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น ๑                                            4 (0-16-4) หน่วยกิต
NSID 581          Primary Medical Care Practicum 1

คำอธิบายรายวิชา

          ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพ  วินิจฉัยแยกโรค  การรักษาโรคเบื้องต้น  ดูแลผู้ป่วย ฉุกเฉิน  ตรวจคัดกรองและให้ภูมิคุ้มกันโรค  ให้คำแนะนำผู้ป่วย  การติดตามการรักษา  และ บันทึกผลการรักษา
          Practice in health assessment and differential diagnosis,  primary medical care,  emergency care, health screening and  immunization; patients education, follow up and treatment recording.

พยคร 582          ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 2                                             2 (0-8-2) หน่วยกิต
NSIID 582         Primary Medical Care Practicum 2

คำอธิบายรายวิชา

         ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ  วางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครอบครัวและชุมชน ใช้กระบวนการพยาบาลชุมชน กระบวนการเยี่ยมบ้าน  นวตกรรม และ เทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้อง  และแหล่งประโยชน์ในการดูแลสุขภาพชุมชน

ระบบการศึกษา / ระยะเวลาการศึกษา
ใช้ระบบหน่วยกิตทวิภาค   กำหนดระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 18   สัปดาห์

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

  1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
  2. สุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. ต้องมีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น ๆ

คุณสมบัติเฉพาะ

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ผ่านการคัดเลือก
 

   

 

 

 

 

2 Phrannok Road, Bangkok 10700, THAILAND Tel: (662)-419-7466-80 Fax: (662)-412-8415 Copyright © 2013 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.