e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
เมื่อเด็กมีไข้เช็ดตัวอย่างไร ?
อาจารย์วรรณไพร แย้มมา
ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์

  เมื่อเด็กมีไข้เช็ดตัวอย่างไร  

         การเช็ดตัวลดไข้เป็นหัตถการที่พบบ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ขวบปี แรก ซึ่งมีโอกาสชักจากภาวะไข้สูงได้ ปกติอุณหภูมิของร่างกายคนเราจะอยู่ที่ 36.0 – 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าวัดไข้แล้วการที่จะบอกว่ามีไข้ต่ำๆ หรือมีไข้สูงเราดูจากปรอทวัดไข้ ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้อยู่ระหว่าง 37.6 – 38.4 องศาเซลเซียส จัดว่ามีไข้ต่ำ ถ้าอุณหภูมิที่วัดได้ตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป จัดว่ามีไข้สูง ซึ่งการเช็ดตัวจะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายลง โดยใช้น้ำเป็นตัวนำความร้อนออกจากร่างกาย ทำให้เด็กเกิดความสุขสบาย และยังเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการชักจากไข้สูง แต่จะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การเช็ดตัวลดไข้นั้นมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์

1. กะละมังเช็ดตัว
2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 2-4 ผืน
3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน

ขั้นตอนการปฏิบัติ มีดังนี้

1. เตรียมของใช้และน้ำให้พร้อม
2. ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำแข็งเช็ดตัว เพราะจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และระบายความร้อนออกได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นและเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อจากการหนาวสั่น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการไข้กลับได้
3. ปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เด็กหนาวสั่นขณะเช็ดตัว
4. ถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด
5. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำให้ชุ่ม เช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา พักผ้าไว้บริเวณศรีษะ ซอกคอ ซอกรักแร้ ขาหนีบ เพื่อระบายความร้อน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นที่รวมของเส้นเลือดจะระบายความร้อนได้ดี
6. เช็ดจากปลายมือ ปลายเท้าสู่ลำตัวโดยเช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อระบายความร้อน
7. ขณะเช็ดตัวให้ออกแรงเหมือนถูตัว เพื่อจะช่วยให้เลือดลมเดินดีขึ้น ทำให้เส้นเลือด และ รูขุมขนขยายตัว
8. ถ้ามีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดตัวทันที เพราะถ้าเช็ดแล้วหนาวสั่นจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้นได้
9. เปลี่ยนผ้าชุบน้ำบ่อยๆ ทุก 2 – 3 นาที
10. ใช้เวลาเช็ดตัวประมาณ 10 – 15 นาที
11. หลังเช็ดตัว ควรซับตัวเด็กให้แห้ง แล้วสวมเสื้อผ้าเบาสบาย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา หรือห่อตัวเพราะจะทำให้ความร้อนเพิ่มขึ้น
12. วัดไข้ซ้ำในอีก 15 – 30 นาทีต่อมา
13. ถ้าไข้ลดลง แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้ได้ผล
14. ถ้าไข้ไม่ลด ให้เช็ดตัวลดไข้ใหม่อีกครั้ง
15. ถ้าไข้ยังไม่ลดลงอีก ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์

 

ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ : 
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ
 และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด
และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/56/01/sick.html ด้วย

 

               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English